แนวทางการพัฒนาครูเพื่อเสริมทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง

ผู้แต่ง

  • ปราณี นามสว่าง โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาครู, ทักษะการอ่าน, ทักษะการเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูเพื่อเสริมทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง  และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของผลการพัฒนาครูเพื่อเสริมทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ 4) การสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมศึกษา และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้มาทั้งการสุ่มแบบง่าย และการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบ แบบวัดความรู้ครู แบบประเมินความสามารถด้านการอ่านและการเขียน แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบค่า t (t-test) พบว่า แนวทางการพัฒนาครู มี 7 แนวทาง คือ 1) การสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการจำเป็น 2) การศึกษาดูงาน 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) การจัดทำเอกสารและสื่อประกอบ 5) การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะการอ่านและการเขียน 6) การประเมินผลการดำเนินงานและสรุปรายงาน และ 7) การพัฒนา ส่งเสริม ปรับปรุง ผ่านกิจกรรมพัฒนาครู 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง และ 4) การนิเทศ ติดตาม ผ่าน 4 ขั้นตอน (การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล) ผลการพัฒนาครู การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สามารถดำเนินงานตามแผนงาน มีหลักการแนวทางและวิธีการที่ชัดเจน นำข้อมูลที่ได้มาปรึกษา วิเคราะห์ สรุปรายงานเพื่อวางแผนพัฒนา  การอบรมปฏิบัติการ พบว่า คะแนนวัดความรู้ของครูก่อนและหลังอบรม มีค่าเท่ากับ 38.89/80.00 แสดงว่า หลังการอบรมครูมีความรู้เพิ่มขึ้น การนิเทศ ติดตามผล พบว่า วงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.48 วงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 แสดงว่า วงรอบที่ 2 ครูนำความรู้สู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น  การนำไปการสู่ปฏิบัติ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล  เมื่อดำเนินการสิ้นสุดวงรอบที่ 1 ประเมินนักเรียน ครั้งที่ 1 และเมื่อสิ้นสุดวงรอบที่ 2 ประเมินนักเรียน ครั้งที่ 2 พบว่า ผลการประเมินการอ่านและการเขียนของนักเรียน ครั้งที่ 1/2 เท่ากับ 38.70/80.68 แสดงว่า นักเรียนสามารถอ่านและเขียน สูงกว่าวงรอบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กชพรพรรณ สิทธิหิรัญพงศ์. (2562). “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา”. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กนกวรรณ ปัจจวงษ์. (2559). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิราภา เพียรเจริญ. (2556). “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จุฑามาส นครปฐม. (2559). “การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญาวัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

เบญจวรรณ ช่อชู. (2563). “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนา โพธิทอง. (2559). “การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนซางต้าครู้สคอนแวนต์กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

โรงเรียนบ้านขวาวโค้ง. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. สุรินทร์ :

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2.

สิรินญา ศิริประโคน. (2561). “การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนบ้านมาบเตย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1”. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

สุดาพร รินสมปาน. (2562). “การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรับใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่กับวรรณกรรมท้องถิ่น”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Freire, P. (2000). Pedagogy of the oppressed. (30th anniversary ed.). New York: Continuum.

Shor, I. (2009). “What is critical literacy?”, in A. Darder, M. P. Baltodano, and R. D. Torres. (Eds), The critical pedagogy reader (pp. 282-304). New York:

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23