การวิเคราะห์สารัตถะการปฏิบัติสมาธิในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การปฏิบัติสมาธิ, สมาธิ, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมาธิในพระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาสารัตถะการปฏิบัติสมาธิในพุทธปรัชญาเถรวาท และ (3) เพื่อวิเคราะห์สารัตถะการปฏิบัติสมาธิในพุทธปรัชญา เถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า คำว่า สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจมั่น ซึ่งหมายเอาภาวะที่จิตมีความแน่วแน่มั่นคง สมาธิมี 2 ประเภท คือ สมาธิแบบชั่วครู่ เรียกว่า ขณิกสมาธิ และสมาธิในระยะเวลาที่นานขึ้นสำหรับผู้ที่กำลังจะได้ฌานและนิมิตต่างๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ สารัตถะการปฏิบัติสมาธิตามหลักการเชิงพุทธปรัชญาเถรวาท นั่นคือผู้สนใจในการปฏิบัติสมาธิจะเริ่มด้วยการศึกษาความหมายของสมาธิจนเข้าใจอย่างดีแล้ว จึงได้นำสาระสำคัญของสมาธิไปปฏิบัติตาม จนก่อเกิดความรู้แจ้งในสมาธิที่มากขึ้น ซึ่งตรงกับหลักการทางปรัชญาที่ชื่อญาณวิทยา คือ การปฏิบัติสมาธิจะก่อให้เกิดความรู้ในธรรมต่างๆ ที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในที่นี้ท่านหมายเอาหลักธรรมต่างๆ มีหลักไตรลักษณ์ เป็นต้นส่วนการวิเคราะห์การปฏิบัติสมาธิในพุทธปรัชญาเถรวามนั้น คือการปฏิบัติโดยเป็นการใช้สมาธิไปกำหนดพิจารณาให้เห็นหลักไตรลักษณ์ จนสามารถพิจารณาเห็นสภาพตามความเป็นจริงในลักษณะทั้ง 3 คือ ความเปลี่ยนแปรไปของสรรพสิ่ง (อนิจจตา) ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขตา) และเป็นสภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร (อนัตตตา) และเป็นข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น
References
ขุนสรรพกิจโกศล. (2506). คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค. ผู้รวบรวม โกวิท ปัทมะสุนทร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาพลพิทยา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระเทพวิสุทธิกวี. (2543). การพัฒนานาจิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
. (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2532). วิธีระงับทุกข์. เชียงใหม่: พุทธนิคมจัดพิมพ์.
พระอาจารย์มหาสีสะยาดอร์ อัครมหาบัณฑิต ธัมมาจาริยะ. (2533). ปิดประตูอบาย ทางไปสู่นิพพาน: คู่มือสอบอารมณ์กรรมฐาน. แปลโดย พระธรรมธีรราชมหามุนี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2536). สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
พระมหานิพนธ์ ฐิตวีรคุโณ. (2548). “สมาธิตามหลักพุทธศาสนากับความฉลาดทางอารมณ์ของเยาวชนกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาสุธน ยสสีโล (บัวทอง). (2541). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อรภัคภา ทองกระจ่างเนตร. (2555). การศึกษาวิเคราะห์สมาธิกับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.