อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ : พระพุทธเจ้า : สุดยอดนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งโลก

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิศิต ธีรวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทฺโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูสาธุกิจโกศล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

ปุริสทมฺมสารถิ, พระพุทธเจ้า, นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่  2) ศึกษาบทบาทของพระพุทธเจ้าในฐานะนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา  เป็นบทความวิชาการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ที่ศึกษาเชิงเอกสาร โดยใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา หนังสือ ตำรา และเอกสารงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง  ผลการศึกษาพบว่า  1) นักทรัพยากรมนุษย์ในองค์การสมัยใหม่มีบทบาทหลายประการ เป็นต้นว่า บทบาทการเป็นหุ้นส่วนในการสร้างและพัฒนากลยุทธ์ บทบาทการสนับสนุนพนักงาน บทบาทผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ และบทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง ตลอดทั้งบทบาทในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ ในฐานะเป็นผู้สร้างความตระหนัก ผู้เป็นต้นแบบในการรู้เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลง ผู้ริเริ่ม ผู้ปลุกเร้าและผู้สนับสนุน รวมทั้งบทบาทการสร้างกลยุทธ์และสนับสนุนการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในฐานะผู้เป็นแกนนำหลัก และเป็นประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านองค์ความรู้  2) พระพุทธองค์ในฐานะนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรงแสดงบทบาทของนักพัฒนามนุษย์และทรัพยากรมนุษย์ในพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า  การสร้างกลยุทธ์วิธีการทำงานเพื่อประโยชน์และความสุขแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งโลก  เน้นการประพฤติปฏิบัติเพื่อทำที่สุดทุกข์  กำหนดคุณลักษณะพุทธบริษัท 4 ว่าจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการสอนธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ให้มั่นคง แผ่ขยายกว้างไกล มีพุทธศาสนิกชนยอมรับนับถือจำนวนมาก  ทรงแสดงบทบาทผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ เช่น การส่งพระสาวกช่วยประกาศศาสนาที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ปรับเปลี่ยนรูปแบบการอุปสมบทตามลำดับ คือ เอหิภิกขุอุปสัมปทาที่ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง  ติสรณคมนูปสัมปทา การให้บวชด้วยการรับไตรสรณคมน์  ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การให้บวชด้วยญัตติจตุตถกรรมโดยสงฆ์  การรับและพัฒนาคนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  การพัฒนาองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยเลือกเฟ้นรับคนหรือกลุ่มคนที่มีฐานะ มีความรู้ความสามารถ มีพวกพ้องบริวารมาก เช่น ครอบครัว ยสกุลบุตร กลุ่มภัททวัคคีย์ กลุ่มกัสสปะ 3 พี่น้อง กลุ่มชฏิล  การรับฟังความคิดหรือข้อเสนอแนะของทางราชการหรือราชตระกูล   การแต่งตั้งอัครสาวกอัครสาวิกาในพุทธบริษัท 4 ช่วยบริหารการคณะสงฆ์  การบริหารเชิงบวกให้ความสำคัญพระสาวก  การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทรงแสดงบทบาทความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เช่น ทรงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเรื่องวรรณะ 4 ในสังคม  ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการบูชาใหม่ ทรงแนะนำให้บูชายัญด้วยการไม่ต้องฆ่าสัตว์ แต่ให้บูชาด้วยเนยใส เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยแทน  ทรงแสดงบทบาทในการสนับสนุนสาวก เช่น ประทานโอกาสแก่พระสารีบุตรให้ได้แสดงความสามารถด้วยการนำเสนอผลงานชื่อสังคีติสูตรและทสุตตรสูตรในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์หมู่ใหญ่  ทรงเมตตาใช้กุสโลบายช่วยเหลือพระนันทะ โดยทรงเป็นผู้ค้ำประกันรับรองการปฏิบัติว่าจะได้ผลตามที่คาดหวัง จนสามารถแนะนำท่านให้ประพฤติพรหมจรรย์กระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด       

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

¬¬_________. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). 8K’s+5k’s ทุนมนุษย์ของคนไทย รองรับประชาคมอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: Chira Academy Publishing.

เดสส์เลอร์ เกร์ย. (2549). กรอบความคิดสำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์. แปลโดย ชำนาญ ปิยวนิชพงษ์ และคณะ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2560). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญทัน ดอกไทสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ : มุ่งสู่อนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.

ปราชญา กล้าผจัญ และ พอตา บุตรสุทธิวงศ์. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหานคร: ข้าวฟ่าง.

พยัต วุฒิรงค์. (2559). การบริหารบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). (2558). ศัพท์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

พระศรีคัมภีรญาณ. (2559). บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2563). ผู้นำ นักบริหาร กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ชัย คงจันทร์. (2558). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23