ความหลากหลายทางภาษาในการปฏิบัติการสอน ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • พระสมพงษ์ ณฏฺฐิโก (เฒ่าเง้า) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาษา, การปฏิบัติการสอน, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การสื่อสารได้หลากหลายภาษามีประโยชน์อย่างมากเพราะช่วยให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้ภาษาได้พร้อมกันหลายภาษา ก่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างชุมชนและได้รับความช่วยเหลือการเรียนรู้ด้วย ภาษามีข้อกำหนดของภาษาแตกต่างจากภาษาอื่น ๆ ซึ่งทำให้ได้รับฟังความคิดเห็นจากการใช้ภาษาตามสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น การฝึกสอนการฝึกทักษะวิชาชีพครู ผู้สอนนั้นจะเป็นผู้ตรวจสอบการสอนของตนรวมถึงเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการสอน โดยการฝึกสอนนี้จะประกอบไปด้วยการสอน การวางแผน การทำกิจกรรมต่าง ๆ และเรียนรู้ที่จะสอน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผู้สอนจะได้รับการฝึกฝนและปล่อยให้ปฏิบัติจริงโดยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลและให้คำแนะนำตลอดการฝึก การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจะได้ฝึกและปล่อยให้ฝึกเรียนรู้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการทำงาน สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเข้าใจความหลากหลายทางภาษาในสังคมไทย แบ่งตามรูปแบบของภาษา คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเด็นภาษาถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติการสอนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการจริง

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กัลยา ติงศภัทิย์. (2525). ภาษาและภาษาย่อยในประเทศไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3 หน่วยที่ 15. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาตรี ฝ่ายคำตา, และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2552). วิธีหาแนวคิดผู้เรียน: เครื่องมือสำหรับครูวิทยาศาสตร์ในยุคปฏิรูปการศึกษา. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 24 (2), 1-10.

พชร บัวเพียร. (2537). คู่มือเตรียมสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท นิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท สกายบุกส์ จำกัด.

พระอธิการภูมิสิษฐ์ ปิยสีโล, และนัชพล คงพันธ์. (2565). การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7(1), 188-199.

พวงทอง ไสยวรรณ์. (ม.ป.ป.). เอกสารการสอนวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน.

วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาครูยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 104–116.

วิไลย์ศักดิ์ กิ่งคำ. (2556). ภาษาไทยถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2555) การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (active learning) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร: ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สิริทิพพา วิวรรณศิริ. (2564). ทักษะการสื่อสารของมนุษย์. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/11sirithippa/xwac-npha-sa. [10 มีนาคม 2566]

สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. ภาษามาตรฐาน. ม.ป.ป. แหล่งที่มา. http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-8.html, สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566.

สุรัตน์ ตรีสกุล. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23