การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพยากรมนุษย์, โรงเรียนเอกชน, สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจากโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 254 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีความตรงวัดด้วยค่า ดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาระหว่าง .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .98 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสรรหาและคัดเลือก รองลงมาคือ การฝึกอบรมและพัฒนา รางวัลและผลตอบแทน และ การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวม พบว่า ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). การประชุมใหญ่สามัญ สมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://moe360.blog/[25 ธันวาคม 2565]
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). การจัดทรัพยากรบุคคลพื้นฐาน แนวคิดเพื่อการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาจรีย์ นาคะประทีป และคณะ. (2564). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับโรงเรียนเอกชน”. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 56.
พรรณี เรืองบุญ. (2561). “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3”. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2561. หน้า 9-16.
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มนุษย์. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปีงบประมาณ 2560-2564. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.home.skn.go.th/ [5 สิงหาคม 2565].
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2563). รายงานประจำปี 2563. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://opec.go.th/wp-content/uploads/2021/07/Report2563.pdf [25 มกราคม 2565]
Fombrun, C. J. (1984). Strategic human resource management. John Wiley & Sons.
Korkmaz, O., & Yılmaz, O. (2017). “The effects of human resource management practices on employee turnover intention: An empirical study on Turkish5-star hotels”. Journal of Tourism and Hospitality Management. 5(3): 39-52.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.