การบริหารสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาปฐมวัย ของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • พิชชาภา ต่อไพศาล มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, การจัดการศึกษาปฐมวัย, สถานศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสมุทรสาคร  จำแนกตาม ระดับการศึกษา  ประสบการณ์การทำงาน  และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจากสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 254 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .98 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะ รองลงมาคือ ด้านรูปแบบการบริหาร ด้านระบบงาน ด้านคุณค่าร่วม ด้านบุคคล ด้านกลยุทธ์ และ ด้านโครงสร้างหน่วยงาน ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสมุทรสาครตามความคิดเห็นของครู พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน สำหรับครูที่มีประสบการณ์และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จิราภา บูรณะ. (2557). “การบริหารโรงเรียนที่เป็นศูนย์ปฐมวัยต้นแบบสู่ความเป็นเลิศในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทาง การศึกษา. 3(3): 537-551.

จุไรรัตน์ กีบาง. (2563). “การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร ศรีอินทร์สุทธิ์. (2558). “แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร. พ.ศ.2562-2565. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.home.skn.go.th/ [5 สิงหาคม 2565]

สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี งบประมาณ 2560-2564. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.(2563). รายงานประจำปี 2563 . [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://opec.go.th/wp-content/uploads/2021/07/Report2563.pdf [25 มกราคม 2565]

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2562). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ปี 2563-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).

Aumiller & Barbara Elaine. (2008). Implementation of the Baldrige Education Framework for Performance Excellence : A Case Study of One Midwestern School District Leadership Team’s Continuous Improvement Efforts. USA: University of Illinois.

Baishya, B. (2015). “McKinsey 7s Framework in Corporate Planning and Policy”. International Journal of Interdisciplinary Research in Science Society and Culture.(IJIRSSC), 11(1): 165–168.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Peters, T. J. & R. H. Waterman, JR. (1982). In Search of Excellence. New York: HarperCollins. (Online), Available from https://newlearningonline.com/new-learning/chapter-3/post-fordism-more-recent-times/peters-and-waterman-in-search-of-excellence

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27