การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้านพุทธศาสนศิลป์ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาธนู ธนวฑฺฒโน (เนียมวงศ์) วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช

คำสำคัญ:

พุทธศาสนศิลป์, การเรียนรู้, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

พุทธศิลป์เป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ทางด้านพระพุทธศาสนาที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นความงามที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาธรรมทางวัตถุเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ให้เกิดความศรัทธา ประพฤติปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีงามตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พุทธศิลป์ เป็นงานศิลปะที่ช่าง ศิลปิน สร้างขึ้นเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือสร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ได้แก่ ภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ วิหาร งานปฏิมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูป และงานสถาปัตยกรรม ได้แก่ ศาสนสถานที่เป็นโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ สถูป เจดีย์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ การเรียนรู้พุทธศาสนศิลป์ในศตวรรษที่ 21 ชี้ให้เห็นถึงการถ่ายทอดความรู้ความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ การเรียนรู้พุทธศาสนศิลป์ต้องผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการสังเกต การสำรวจ การทดลอง การปฏิบัติจริง เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนเพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเข้าใจถึงการเรียนรู้พุทธศาสนศิลป์ในศตวรรษที่ 21 ด้านความหมายของพุทธศาสนศิลป์ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์พุทธศาสนศิลป์ โดยเนื้อหาสาระสามารถนำมาเป็นสื่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ต่อไป

References

กรมศิลปากร. (2544). คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สมาพันธ์จำกัด.

กาญจนา ศิริมุสิกะ. (2544). สังคมศึกษา: การสอนที่เน้นการเรียนเป็นศูนย์กลาง. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2561). พุทธศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. อยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

ตัวแน่น. (2551). อังคาร กัลยาณพงศ์ กวีผู้ตวัดถ่าน อ่านกลอน สอนสัจธรรม. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://anowl.co/anowlrod/หลงรูป/long_roob16/ [7 สิงหาคม 2566].

แถมสุข นุ่มนนท์. (2533). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2519). ปรัชญาประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

ประณาท เทียนศรี. (2556). การสอนสังคมเพื่อพัฒนาความคิดของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา.

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต) (2551). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ การศาสนา.

ร้อยพุบพา. (2549). พุทธศิลป์.[ออนไลน์],แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/permalink.php?story [6 สิงหาคม 2566].

วิภาพรรณ วิภาดา พินลา. (2564). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงวน รอดบุญ. (2526). พุทธศิลปลาว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2540). เอกสารการสอนชุดวิทยาการการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

สิริวัฒน์ คำวันสา. (2534). ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อดิศร ศักดิ์สูง. (2552). ความคิดทางประวัติศาสตร์และวิธีวิทยาวิจัย. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

Louis, Gotts Chalk. (1956). Understanding History: A Primer of Historical Method.

Majumdar, R.K. and Srivastva, A.N. (1977). Historiography. Delhi: nai Sarak. New York: Alfred A. Knopf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27