ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองที่มีต่อการตั้งเป้าหมาย ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • ศิรินิสา แสนบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกำกับตนเอง ที่มีต่อ      การตั้งเป้าหมายของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ที่สถาบันพัฒนาชีวิตสู่ความยั่งยืน จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการกำกับตนเอง โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 ครั้ง         ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งใช้เวลา 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และแบบวัดการตั้งเป้าหมาย             สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลพบว่า หลังการทดลองผู้เรียนกลุ่มทดลองมีการตั้งเป้าหมายสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กนกกร เมตตาจิต. (2558). “การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40(1): 27-37.

กษมา โรจนดิษฐ์ และวาระดี ชาญวิรัตน์. (2566). “ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองที่มีต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”. วารสารราชพฤกษ์. 21(1): 29-41.

แก้ว พรหมแก้ว. (2559). “การให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริงเพื่อเสริมสร้างการตั้งเป้าหมายในชีวิตของผู้ใช้สารเสพติด ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผุ้ติดยาเสพติดกองบิน 7”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สาวิตรี ไพศาล. (2559). “ผลของการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองเพื่อเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเขาดินวิทยาคารจังหวัดกาญจนบุรี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อชิรญา จตุรภัทรไพบูลย์.(2563). “การเสริมสร้างเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่มของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2554). จิตวิทยาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

Bandura, A. (1991). Social cognitive theory of self-regulation. Organizational Behavior and Human Decision Processes. 50(2): 248-287.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27