ผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษาที่มีต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตน ของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุภามาศ ปาลศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมจิตตปัญญาศึกษา, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษา ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตน ของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน จากครูทั้งหมด 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมจิตตปัญญาศึกษา โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 2 วัน ในการจัดกิจกรรมแต่ละวัน จะใช้เวลา 6 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถแห่งตน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลพบว่า หลังการทดลองครูกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าครูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่องจิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจและเป้าหมายของสถานศึกษา. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.satit.nrru.ac.th/ [20 มิถุนายน 2565].

ศศิวรรณ อินทรวงศ์. (2560). “อิทธิพลระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง การรับรู้ลักษณะงานที่ตนปฏิบัติและคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สิริริตน์ นาคิน. (2559). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสรริมจริยธรรมสำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครู : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

______. (2564). จิตตปัญญาศึกษา. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/575525 [5 กรกฏาคม 2562]

สุปรียส์ กาญจนพิศศาล. (2564). “การสร้างความสุขในองค์กรด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(3): 328-344.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Bandura, A. (1986). Social foundation of though and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice-Hall.

______. (1994). Encyclopedia of Human Behavior. San Diego: Academic Press.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27