ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความมุ่งมั่นในการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สุภัทตรา แซมตะคุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ประยุทธ ไทยธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้เชิงรุก, ความมุ่งมั่นในการเรียน, นักเรียน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองนี้เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความมุ่งมั่นในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 ครั้ง ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 50 นาที เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ และแบบสอบถามความมุ่งมั่นในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลพบว่า หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีความมุ่งมั่นในการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

พันทิพา เย็นญา. (2562). “ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสารการวัดผลการศึกษาสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 36(99): 28-40.

พาสนา จุลรัตน์ และธรรมโชติ เอี่ยมทัศนะ (2562). “การสร้างแบบวัดการคิดเชิงบริหาร ของนักเรียนวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น”. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 14(2): 47-62.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ และเป้าหมายของสถานศึกษา. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.satit.nrru.ac.th/ 20 มิถุนายน 2565.

วทัญญู วุฒิวรรณ์. (2553). “ผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

สิทธิพงษ์ สุพรม. (2561). “การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เชิงรุกในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น”. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 7(2): 49-58.

สุรวิทย์ อัสสพันธุ์. (2556). “ผลของโครงสร้างเป้าหมาย ความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด และความมั่นใจในความฉลาดของตนเองที่มีต่อเป้าหมายเชิงสัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นในการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bonwell C. C. & Eison, J. A. (1991). Active learning: Creating exctement in the classroom. ERIC Disingest. Washington, DC: ERIC Clearinghouse and Higher Education.

Campbell, S. (1996). “Green cities, growing cities, just cities?: Urban planning and the contradictions of sustainable development”. Journal of the American Planning Association, 62(3): 296-312.

Mitchell, L., Murray, S. B., Hoon, M., Hackett, D., Prvan, T., & Connor, O. H. (2017). Correlates of muscle dysmorphia symptomatology in natural bodybuilders: Distinguishing factors in the pursuit of hyper-muscularity. Body Image, 22: 1-5.

Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27