การศึกษาผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จุตินันท์ โตอ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุภาวดี วิสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผลการใช้หลักสูตร, การศึกษาปฐมวัย, ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน จำนวน 361 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ผลการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยจำแนกตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอารมณ์ จิตใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านร่างกาย พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 จำแนกประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอารมณ์ จิตใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ขวัญชนก ทองคุ้ย. (2557). “การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเน้นประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์สำหรับเด็กปฐมวัย”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(4): 10-21.

ชมพูพราว มิ่งมงคล. (2563). “พัฒนาการและการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560”. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 8(2): 212- 230.

ชูชัย มีนุช .(2555). “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ตาลโตนดที่บ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม”.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมบูรณ์ ตันยะ. (2548). การประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

อนงค์นาถ ยิ้มช้าง. (2557). “การพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 9(25): 23-34.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27