ทิศทางการวิจัยด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ ขันแก้ว วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอกฉัท จารุเมธีชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ทิศทางการวิจัย, การจัดการเรียนรู้, ภาษาไทย

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยหลักสูตรครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวิชาการสอนภาษาไทยทั้งระดับปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต เน้นการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการทางวิจัย บทความนี้จึงมีความประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอทิศทางการวิจัยด้านการสอนภาษาไทย ซึ่งได้ทิศทางดังนี้ ทิศทางด้านหลักสูตรมีความสำคัญต่อการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงต้องทำความเข้าใจหลักสูตรในด้านมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดการวิจัยตรงจุดที่ต้องการแก้ปัญหาและพัฒนาทิศทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ทิศทางด้านภาษาและวรรณกรรม ทิศทางด้านศาสตร์การสอน ก็เป็นทิศทางที่ควรดำเนินการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยมาแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

ณิรดา เวชญาลักญณ์. (2565). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกฉัท จารุเมธีชน. (2535). ภาไทยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27