อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธ ในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
อิทธิพลความเชื่อ, นรก, สวรรค์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเรื่องนรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และ3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นำมาวิเคราะห็เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
- นรก คือ สถานที่ลงโทษผู้ทำความชั่ว เป็นสถานที่ปราศจากความสุขความเจริญ มีแต่ความทุกข์ทรมาน เป็นสถานที่ลงโทษสัตว์ผู้ทำความชั่วหลังละโลกนี้ไปแล้ว เป็นภพหรือภูมิที่ต่ำสุดในบรรดาภพหรือภูมิทั้งหลาย เป็นส่วนหนึ่งของสงสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนคำว่า สวรรค์ แปลว่า โลกที่เลอเลิศเพียบพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 อันน่าปรารถนาน่าใคร่ คือโลกที่งดงามเลอเลิศ เพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ดี และสิ่งที่เป็นบุญ สวรรค์นั้นเป็นดินแดนที่บริบูรณ์ไปด้วย ความสุขล้วนหมู่สัตว์ที่เกิดในสวรรค์
- อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ มี 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความเชื่อ ด้านพฤติกรรม ด้านวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านจิตกรรมเกี่ยวกับนรกและสวรรค์ ด้านประติมากรรม และด้านการนำไปสร้างบทละครเกี่ยวกับผลกฎแห่งกรรม
- จากการวิเคราะห์อิทธิพลความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ชาวพุทธในเขตอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ยังขาดนำเอาหลักธรรมไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและครอบครัว ตลอดจนถึงสังคม เพราะตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา สวรรค์ไม่ใช่จุดหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา การทำบุญหรือความดีไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการไปสวรรค์
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมศิลปากร. (2523). จักกวาฬทีปนีของพระสิริมังคลาจารย์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ่นส่วนจำกัดเซ็นทรัลเอ็กเพรสศึกษาการพิมพ์.
ป.หลงสมบุญ, (2546). พจนานุกรมมคธ – ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร จำกัด.
ป่อง โกษา (นามแฝง). (2522). พระธรรมจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ชวนการพิมพ์.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2543). ทศวรรษธรรมทัศน์พระธรรมปิฎก หมวดศึกษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (ม.ป.ป). นรก-สวรรค์ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและ-สถาบันบรรลือธรรม.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), (2544). ภูมิวิลาลินี. จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพพระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรุงเทพมหานคร: วัดยานนาวาและมูลนิธิวัดพระธรรมกาย.
ราชบัณฑิตยสถาน, (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
หลวงวิจิตรวาทการ. (2523). ศาสนาสากล, พระนคร: โรงพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี.
พระบุญเทียน พุทฺธวโร (ปัญญาแก้ว). (2554). ศึกษาวิเคราะห์เรื่องพระโพธิสัตว์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวํโส. (2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์). (2533). นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สันทนี อาบัวรัตน์. (2528). การศึกษาวรรณกรรมอีสาน เรื่อง มาลัยหมื่น มาลัยแสน. [วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.
สมคิด เสวยล้ำ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมจากการตอบปัญหาของเทวดา. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.