การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
รูปแบบจัดการศึกษา, พระปริยัติธรรม, สำนักเรียน, คณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการบริหารจัดการศึกษาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสาร (Documentary research) โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบและวิธีการบริการกิจการคณะสงฆ์ตั้งแต่ ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จวบกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ การปกครองคณะสงฆ์ไทยยังปฏิบัติตามรูปแบบการปกครองของพระพุทธองค์ถือตามพระธรรมวินัยเป็นหลัก ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ คณะสงฆ์จะมีความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักร การพึ่งอำนาจรัฐน่าจะเป็นการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับพระธรรมวินัยและความบริสุทธิ์แห่งพระศาสนา
- สภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ 1) เนื้อหาสาระ เก่าเกินไป และภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก โดยเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนกธรรมเน้นการจำมากกว่าความเข้าใจ ขาดการประยุกต์ใช้ ไม่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน จึงควรปรับปรุงภาษาที่ใช้ให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย 2) วิธีการเรียนการสอน เน้นการท่องจำ ไม่ค่อยมีการประยุกต์ใช้และขาดการคิดวิเคราะห์
- การศึกษารูปแบบจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ มี 3 แผนก โดยผู้วิจัยยกตัวอย่าง ๓ สถานศึกษา ที่มีจุดเด่นมากที่สุด ดังนี้ 1) สำนักศาสนศึกษา วัดใหม่ศรีวิหารเจริญ (แผนกบาลี) 2) สำนักศาสนศึกษา วัดโพธาราม (แผนกธรรม) และ 3) โรงเรียนพระปริยัติธรรมโกศลวิทยา (แผนกสามัญศึกษา)
References
กรมการศาสนา. (2526). ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2551). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คนึงนิตย์ จันทบุตร. (2532). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม.
ถวิน สมัครรัฐกิจ. (2539). คู่มือการจัดการศึกษาสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2554). โครงการรูปแบบและการจัดการศึกษาสำหรับทายาทรุ่นที่สองของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระเทพเวที (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ). (2540). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมมิก จำกัด.
พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2550). การพัฒนาพระสังฆาธิการ. [พิมพ์ครั้งที่ 7]. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน) และ พระมหาทองดี ปญฺญาวชิโร. (2548). การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์.
พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). (2530). ธรรมบทวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวัน.
พระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). (2545). งานวิจัยการศึกษาเชิงวิเคราะห์พระคาถาธรรมบท เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร.
พระพิพัฒน์ปริยัติสุนทร. (2548). อนุโมทนากถา. สำนักเรียนวัดเทพลีลากับการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักเรียนวัดเทพลีลา.
พระมหาทองดี ปญฺญาวชิโร. (2545). คู่มือเปิดตำราเรียนบาลีสำนักศาสนศึกษาวัดเทพลีลา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี อธิปุญฺโญ. (2544) บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม ศึกษาเฉพาะกรณี : พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). [วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระมหาแผน พูนพัด. (2534). รูปแบบระบบการบริหารงานทางวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการการศึกษาต่อเนื่อง]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2548). การบริหารวัด. [พิมพ์ครั้งที่ 7]. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา.
สนามหลวงแผนกบาลี. (2543). เรื่องสอบบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2550). คู่มือวิชาการโครงการคนรักษ์วัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). ประวัติศาสตร์พระศาสนา. [พิมพ์ครั้งที่ 10]. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์รวมสาส์น.
เสถียร โพธินันทะ. (2541). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เสถียร อุสาหะ. (2554). นักเรียนไร้สัญชาติระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนปีการศึกษา 2554. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.ศธ.