แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2

ผู้แต่ง

  • มินรญา ทองรูปพรรณ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และ ครู จำนวน 317 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .97 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสังเกตและการปรับปรุงการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ด้านการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน  และ ด้านการกำหนดพันธกิจของโรงเรียน  2) ผลการวิจัยเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรประเมินผลครูอย่างเป็นระบบ ออกแบบและจัดทำหลักสูตรร่วมกับครู วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคร่วมกับครู คำนึงถึงบริบทและข้อจำกัดของสถานศึกษาและกำหนดพันธกิจร่วมกับครู

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กตุสุดา กิ้งการจร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา]. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กนิษฐ์ ศรีเคลือบ. (2557). การพัฒนโมเดลการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลการวิจัยอิงการออกแบบและการวิเคราะห์เอ็มเอ็มเอสอีเอ็ม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา]. คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาภรณ์ เรืองเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2, [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต]. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สั่งกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญพักตร์ ภู่ศิลป. (2557). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสาธิตระดับประถมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ภัสรา ชูเสน. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(1), 11-15.

สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์.

สุขฤทัย จันทร์ทรงกรด. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565. จาก https://nonedu2.net

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565. จากhttps://nonedu2.net

Hallinger & Murphy. (1985). Work stress and social support. Reading Massachusetts: Addison-Wesley.

Hoy & Hoy (2003). Instructional Leadership A Learning - Centered Guide. The United States of America. Allyn and Bacon .

Kaiser S.M. (2000). Mapping the learning organization : Exploring a model of organizational learning. [Ph.D. Dissertation]. Louisiana State University, U.S.A.

Suchman, Edward. (1987). A Evaluation Research : and Principle and practice in Public Service And Social Action Program. New York : Pusel Sage Foundation.

Weber, J. (1996). Leading the instructional program. In S. Smith & p. Piele (Eds.). Schoolleadership. (pp. 253-278). Eugene, Oregon: Clearinghouse of Educational.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16