แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • พวงบุบผา สมัครกสิกิจ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, พึงประสงค์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร สถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกตาม ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 5 คน และ ครู จำนวน 317 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .96 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการเสริมพลังอำนาจ ด้านการไว้วางใจ ด้านการบริการ ด้านความรัก ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น และด้านความนอบน้อม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนครู ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งภาพรวมและรายด้าน และ 3) แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารควรจัดกิจกรรมเสริมความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคลากร รับฟังผู้ใต้บังคับบังชาอย่างตั้งใจ ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม เน้นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี มอบหมายงานตามความสามารถและความสมัครใจ สนับสนุนครูอบรมและพัฒนาตนเอง และสนับสนุนทรัพยากรที่หลากหลาย

References

ณภัทร อามาตย์เสมา. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 9-18.

ทิวากานต์ ศรีสวสัดิ์ (2558). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผ้บูริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 57-64.

ปองภพ ภูจอมจิตร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบเชิงบริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา], บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ปัทมาพร ศรีกำพล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบคัน 12 ธันวาคม 2565. จาก https://nonedu2.net

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565. จาก https://nonedu2.net

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค.

อภิชาติ อนันตภักดิ์. (2558). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 3. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Blanchard, K. H. (2006). Leading at a higher level: Blanchard on leadership and creating high performing organizations. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Dennis, R. S. & Bocarnea, M. (2005, December). Development of the Servant Leadership Assessment Instrument. Leadership & Organization DevelopmentJournal, 26(8), 600 -615

Greenleaf, R.K. (1970). The servant as leader. Indianapolis, Illinois: The

Robert K. Greenleaf Center (1977). Servant Leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power andGreatness. Paulist Press, Mahwah. NJ.

Laub,J. (2004). Organizational Leadership Assessment (OLA) Model. Defining servant leadership and the healthy organization.

Patterson,K.A. (2010 ). Servant leadership : Developments in Theory and Research. Palgrave Macmillan, oundmills,Basingstoke,Hampshirite.

Waddell, T. J. (2006). Servant Leadership : Servant Leadership Research. RetrievedAugust,fromwww.regent.edu/acad/sls/publications/conference_proceedings/servant_leadershiproundtable/2006/pdf/waddle.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16