ศูนย์การเรียนรู้การเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐานเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียง
คำสำคัญ:
ศูนย์การเรียนรู้, คุณธรรม, อุปนิสัยพอเพียงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ 1) ความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา และ 4) ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจเสริมสร้างคุณธรรมพื้นฐานเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียงเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทย สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เรียนที่ได้เรียนรู้ ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการจริง สถานศึกษาทุกแห่งสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติ โดยโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ในการฝึกปฏิบัติจริงในการจัดกระบวนการเรียนรู้มีทั้งการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์และการปฏิบัติ มีการสอดแทรกหรือบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในรายวิชาบางวิชา แต่การจัดการเรียนนี้ขึ้นอยู่กับบริบทภูมิสังคมของแต่ละสถาบัน และต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมุ่งเน้นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเพื่อสร้างอุปนิสัยพอเพียง โดยเน้นการปฏิบัติจริงให้นักเรียนมีทักษะชีวิตที่มีรากฐานของการเป็นคนดี มีคุณธรรมเป็นหลักในวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชน ต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). ปฏิรูปการศึกษา 8 คุณธรรมพื้นฐาน. สืบค้น 17 สิงหาคม 2566. จาก http://www.moe.go.th
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี.โปรดักส์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ทิศนา แขมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
ระวีวรรณ วุฒิประสิทธิ์. (2530). บทเรียนวิชาชุดครูทางวิทยุไปรษณีย์ชุดวิชาครู ระดับ พ.ม. วิชา หลักการสอน. นครสวรรค์: ศูนย์การศึกษาสำหรับครูทางวิทยุไปรษณีย์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บริษัทบุ๊คพอยท์ จำกัด.
สุกฤตตา จันทรวิมล. (2545). แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนชุมชน หลังปี พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรีพร เอี้ยวถาวร. (2550). การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา], บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิชัย พันธเสน. (2560). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.