แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • มงคลพฤหัสษ์ แก้วกันหา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • เมธาวี โชติชัยพงศ์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนโสตศึกษา, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 5 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และข้อคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ
  2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู และบุคลากรในสถานศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และการทำงาน เพื่อให้สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสะดวกสบาย เช่น สนทนากับผู้เรียน สนทนาแบบเรียลไทม์กับครู บุคลากรในสถานศึกษา หรือเพื่อนร่วมงานได้ 2) ผู้บริหารควรมีความสามารถในการคิดริเริ่มและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงและทันต่อความท้าทายที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างความเติบโตขององค์การได้อย่างมั่นคง และ 3) ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นหลัก

References

กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชีทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกฏราชวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎหมายกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤติภัทรกร ศิริภัทรนิธิโภคิน. (2564). การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กฤษธรา ยองใย. (2561). ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานการวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 (น. 37-44). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จีระพรรณ โพนพุธ, ภารดี อนันต์นาวี และ ชารี มณีศรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 291-303.

เฉลิมวุฒิ ไชยคำร้อง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการ กลุ่ม 6 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ณิชาวรณัฐ ซองดี. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในอำเภอวังเหนือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นิภาพรรณ โสพัฒน์. (2562). วิธีการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 23-30.

พัฒนวงศ์ ดอกไม้. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภารดี อนันต์นาวี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(2), 40-53.

รังสิสวุฒิ สุวรรณ์โรจน. (2562). การสังเคราะห์องค์ประกอบและการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย, 13(2), 127-140.

รัชนีกร กุฎีศรี และ ปณิธาน วรรณวัลย์. (2561). ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7(25), 237-246.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). สรุปการลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้น กันยายน 2566. จาก https://sp.moe.go.th/web_sp_65/info/ index.php?module=report_01_info_area&JurisdictionCode=10

อรนุช ลออพันธ์สกุล, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, สุเมธ สุภัทรจำเนียร และ พัชราภา ดินดำ. (2565). ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาพิเศษ ในจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 4(2), 2159-2170.

Crawford, E. R., LePine, J.A., & Rich, B.L. (2010). Job engagement: Antecedents and effects on job performance. Academy of Management Journal, 53(3), 617-635.

Jolly, R. K. (1996). The effectiveness of secondary educational administration preparation programs at kansas regents universities. Dissertation Abstracts International, 56(11), 4224.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Tichy, N, M., & Cohen, E. B. (1997). The leadership engine: how winning companies build leaders at every level. Harperbusiness.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16