การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ศาสนพิธี, Active Learningบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนเรื่อง ศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ้านปราสาท อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 14 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1. แผนจัดการเรียนรู้ 2. แบบประเมินความพึงพอใจ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางพรรณาวิเคราะห์และสถิติค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการเรียนรู้เรื่องศาสนพิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning นักเรียนมีพัฒนาการที่ดี มีความรับผิดชอบ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น มีระเบียบวินัย ตั้งใจเรียน มีเหตุผล รู้จักวินิจฉัยไตร่ตรอง และวิเคราะห์
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.86)
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธนัญญา สกุลซ้ง และ กรวิภา สรรพกิจจํานง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมค้ำจุนโลกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้อินโฟกราฟิกกับการสอนแบบปกติ. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 7(2).
ธัญญาเรศ หมื่นไกรและคณะ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศาสนพิธีของศาสนาสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนโยธินบูรณะ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบเกมการสอน. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7).
พรทิพย์ นวลแก้ว. (2560). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. รายงานการวิจัย. สงขลา: โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก).
พระวชิรญาณ์ เต็งวราภรภัทร และคณะ. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดสื่อประสม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 133.
พระสิทธิพงษ์ สุทสฺสโน (ภักดี). 2564. การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหน้าที่ชาวพุทธโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (MIAP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพระปริยัติธรรมปัจฉิมวันวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีระพันธ์ พึ่งตาแสง และทิพพาพร จงวรกุล. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(3).