การจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้ แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ)

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ สุขบิดา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อิทธิวัตร ศรีสมบัติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, เครื่องมือทางภูมิศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้, การสอนทางภูมิศาสตร์, แอปพลิเคชันควิซ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขวาวใหญ่วิทยา จำนวน 15 คน โดยเลือก
แบบเจาะจง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยศึกษาจากแบบเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 8.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.11 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 19.13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.72 และผลวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการสอนทางภูมิศาสตร์ ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันควิซ (QUIZIZZ) ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ผู้วิจัยได้สรุปผลในแต่ละด้านของผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า 1) ด้านครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87 2) ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 4) ด้านการวัดและประเมินผล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 และ 5) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87

References

กนก จันทรา. (2561). การรูเรื่องภูมิศาสตร์ Geo-literacy learning for our planet : ถอดบทเรียน ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรกนก คลังบุญครอง. (2555). เว็บแอปพลิเคชันช่วยแม่ดูแลสุขภาพและบันทึกพัฒนาการของลูก.[ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ

ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิตติกวินท์ ปินไชยและรัตติกาล สารกอง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่อง ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 29-42.

กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2556). การจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวดี วงศ์สุเมธ, สมพร พุทธาพิทักษ:ผล, วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล, และ อภิญญา อิงอาจ. (2560). การพัฒนาโมเดลแบบผสมผสานด้านการยอมรับระบบการเรียนผ่านเว็บของอาจารย์ผู้สอนเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศในมหาวิทยาลัยไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 122-138.

รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา LSC 305 การจัดการผู้ขายปัจจัยการผลิตสัมพันธ์. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 –2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัญญา บูชายันต์, วนมพร พาหะนิชย์ และภูมิ สารทสินธุ์. (2561). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 385-397.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-16