รูปแบบการพัฒนาวัดที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวัดปราสาททามจาน อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต (ศรีทน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูปริยัติกิตติวรรณ (กิตฺติวณฺโณ/ได้ทุกทาง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระอธิการอำพน จารุโภ (ดาราศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูสุตธรรมาภิรัต (สุธมฺมาภิรโต/ยืนยง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ฟ้าดล สมบรรณ สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, รูปแบบการพัฒนา, วัดปราสาทามจาน, ศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนวัดปราสาททามจานที่ยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและสร้างภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาวัดที่ยังยืนเพื่อส่งเสริมการท่องที่ยวเชิงวัฒธรรมวัดปราสาททามจาน อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. รูปแบบการพัฒนาวัดที่ยังยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒธรรม พบว่า รูปแบบการพัฒนาวัดปราสาททามจาน อำเภอปรางกู่นั้นอยู่ในระดับดีมาก เพราะมีโบราณสถานขอมที่มีอายุไม่น้อยกว่า 800 ปี โดยมีการนับถือโบราณสถานที่สืบทอดกันมานับตั่งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทั้งนี้ เพราะด้านความเหมาะสมทั้งประติมากรรม วิถีชีวิตผู้คนที่เป็นรูปแผนในการพัฒนาวัด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม
  2. 2. แนวคิดการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและสร้างภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนายั่งยืน พบว่า การสร้างความเข้มแข็งภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนผ่านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มา ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการจัดองค์กร 3) ด้านการบริหารงานบุคคล 4) ด้านการอำนวยการ 5) ด้านการกำกับดู เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพในการเติบโตบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น       
  3. 3. วิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาที่ยังยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดปราสาททามจาน อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ประวัติศาตร์ความเป็นมาที่สำคัญ ประกอบกับมีสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางศิลปะ หรือเป็นโบราณวัตถุ โบราณสถาน ตลอดจนการบริหาร เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการศึกษา ด้านการเป็นสถานสงเคราะห์ ด้านเป็นที่พักคนเดินทาง ด้านการเป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยพิพากษา ด้านการเป็นสถานพยาบาล ด้านวัดเป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรม

References

กรมการศาสนา. (2542). คู่มือการบริหารและการจัดการวัดฉบับย่อ. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์การศาสนา.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2531). วัดเป็นอย่างไรจะต้องมีคู่มือพัฒนา. จุลสารการท่องเที่ยว. ปีที่ 7

ฉบับที่ 1 (มกราคม 2531): 74-76.

พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก). (2559). รูปแบบการพัฒนาวัดในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่ง

เรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 7(1): 119.

พระธรรมกิตติวงศ์. (ทองดี สุรเตโช), (2546). คำวัด. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเซียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2541). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

เลิศพร ภาระกุล. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : เอกสารคำสอน ภาควิชาการ

ท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาตร์และวิทยาศาสตรมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลักษณา เกยุราพันธ์ และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรมชุมชนไทยพวน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก.

วารสารวิชาการ Veridian E-Jounal Silpakorn University. 9(2): 6

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่ง

ประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัท เพรส แอนด์ ดีไซน์ จำกัด..(2548). อุตสาหกรรม

การท่องเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตาย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ซี.พี.บุ๊คสแตนดาร์ด.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : การวางแผนการท่องเที่ยว

อย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

วรพล วัฒนเหลืองอรุณ และคณะ. (2562). การศึกษาเอกลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของ การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏ เชียงใหม่. 10(2): 53-68.

สุชานาฏ สิตารักษ์ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัดเพื่อเป็นแหล่ง

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารราชภัฏเชียงใหม่. 21(1): 24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30