ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, สื่อประสม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, หลักธรรมศีลห้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนจากการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประถม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประถม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนวัดเวตวันวิทยาราม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
- ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 เท่ากับ 80.11/80.83
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนจากการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประถม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับสื่อประถม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง หลักธรรม ศีลห้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
จรรยพร ล้นเหลือ, พิสิฐ เทพไกรวัล, ฐิติรัตน์ ชอว์ และ กุหลาบ ปุริสาร. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL) เรื่องการทำงานของสมอง วิชาการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของสมองสำหรับเด็กปฐมวัย ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 9(1), 147-155.
จำเนียร โพสาวัง. (2558). การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้ สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ใช้สมองเป็นฐานโดยบูรณาการการเรียนรู้ตามแนว พระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 93-110.
ชานิกา บัวเผียน. (2556). การสร้างสื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
พัชรมน ผลประพฤติ. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ เรื่อง สินค้าและบริการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain – Based Learning: BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนวัดเวตวันวิทยาราม. (2564). รายงานการประกันคุณภาพภายนอก: ผลการประเมิน SAR ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 การศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. อุบลราชธานี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.
Diyaddin, M. (2017). Brain based learning in science education in turkey: descriptive content and meta-analysis of dissertations. Journal of Education and Practice, 9(8), 1735-2222.
Duman, B. (2010). The effects of brain-based learning on the academic achievement of students with different learning styles. Educational Sciences: Theory and Practice, 10(4), 2077-2103.
Jensen, E. P. (2000). Brain-based learning: the new science of teaching & training. San Diego: The Brain Store.