บทบาทใหม่ของผู้บริหารการศึกษาในโลกที่พลิกผัน
คำสำคัญ:
บทบาทใหม่, ผู้บริหารการศึกษา, โลกที่พลิกผันบทคัดย่อ
จากสภาวะโลกที่พลิกผันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ๆ บางครั้ง เราเรียกว่า VUCA world ว่า The New Normal หรือ ความเป็นปกติแบบใหม่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำในองค์กรต้องสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างศักยภาพ ความสามารถ และพัฒนาพนักงานให้มีความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดจนการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ภายใต้สภาวะ The New Normal หรือ ความเป็นปกติแบบใหม่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับบทบาทใหม่ของผู้บริหารการศึกษาในโลกที่พลิกผัน ดังนี้ ผู้บริหารการศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องชัดเจน ต้องมีความสามารถสูง ทั้งการกำกับดูแลช่วยเหลือ ชี้แนะและให้การสนับสนุน และมีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องปรับแนวคิดในการบริหารจัดการบูรณาการที่เน้นการแก้ปัญหาและดำเนินการพัฒนาที่ผสมผสานชัดเจนทั้งเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติ สามารถสร้างความเข้าใจร่วมกับบุคลากรและประสานสัมพันธ์กับบุคลากรทุกฝ่ายได้ด้วยดี เพื่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
References
กมลวรรณ จันทร. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผัน ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล, ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ไชยนันท์ ปัญญาศิริ. (2559). การเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในระบบราชการไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 10-11.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). 7 กลุยทธ์ที่ช่วยสร้างชั้นเรียนที่มีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567. https://www.trueplookpanya.com/education/content/73708/-teaarttea-teaart-teamet.
พระธรรมราชานุวัตร. (2563). ครองตน ครองคน ครองงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567. https://www.banmuang.co.th/news/activity/211593.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) (2555). คู่สร้างคู่สม ชีวิตคู่ในอุดมคติ. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2538). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 2(1), 25-47.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-11.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา: หลักการ ทฤษฎีหน้าทีประเด็นและบทวิเคราะห์. (พิมพ์ครังที 4). กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุจน์.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2561). Disruptive Leadership พาองค์กรก้าวทันการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567. https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/ news-134698.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2563). 5 คำถามและ 4 โจทย์ว่าด้วยการสนทนาเรื่อง “ความปกติใหม่” ในโลกหลังโควิด. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567. https://tdri.or.th/2020/04/new-normal-in-post-covid-world/.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันต่อการบริหารราชการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2567. https://www.ocsc.go.th/node/5965.
อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 111-125.
Brylina, I., Okonskaya, N., Ermakov, M., & Brylin, A. (2021). Education of the future in the conditions of VUCA world. In I. V. Kovalev, A. A. Voroshilova, & A. S. Budagov (Eds.), Economic and Social Trends for Sustainability of Modern Society Vol 116: Proceedings of the II International Conference on Economic and Social Trends for Sustainability of Modern Society (pp. 1372-1380). European Publisher. Retrieved January 28, 2024. https://doi.org/10.15405/epsbs.
Dhammei, T. (2022). Educational administration: Concepts of educational administration and principles of educational administration. Retrieved January 28, 2024. from https://bit.ly/3OrBN1Q
Futuristnida. (2020). 3 ทักษะผู้นำที่ต้องปรับในยุค VUCA World. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567. https://futurist.nida.ac.th/3.
Glocal Thinking. (2021). ผู้นำสายพันธ์ใหม่ ในโลก VUCA. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567. https://glocalthinking.com/en/in-praise-of-the-fragile-leader/.
Kashyap, V. (1999). Design and Creation of Ontologies for Environmental Information Retrieval. Paper presented at the the 12th Workshop on Knowledge Acquisition, Modeling and Management. Banff: Canada.
Laukkonen, R., Biddell, H., & Gallagher, R. (2019). Preparing humanity for change and artificial intelligence. Retrieved January 28, 2024. https://doi.org/10.31234/ osf.io/g5qwc
Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council). (2022). Higher education sandbox. https://www.nxpo.or.th/th/tag/higher-education- sandbox/.
S.K., Kochhar. (2011). Secondary School Administration. New Delhi: Sterling Publishers.
Waller, R., Lemoine, P., Mense, E., Garretson, C. & Richardson, M. (2019). Global higher education in a VUCA world: Concerns and projections. Journal of Education and Development, 3(2), 73-83.