ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มที่มีต่อกรอบความคิดเติบโต ของพยาบาลพี่เลี้ยง
คำสำคัญ:
การปรึกษากลุ่ม, กรอบความคิดเติบโต, พยาบาลพี่เลี้ยงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตของพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พยาบาลพี่เลี้ยง ของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 20 คน จากพยาบาลพี่เลี้ยงทั้งหมด 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการปรึกษากลุ่ม โดยจัดกิจกรรมทั้งหมด 8 วัน ในการจัดกิจกรรมแต่ละวัน จะใช้เวลา 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง และแบบประเมินกรอบความคิดเติบโต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลพี่เลี้ยงกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษากลุ่มมีคะแนนกรอบความคิดเติบโต สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังการทดลอง พยาบาลพี่เลี้ยงกลุ่มทดลองมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตสูงกว่าพยาบาลพี่เลี้ยงกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กอบแก้ว บุญบุตร. (2563). “การเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นด้วยโปรแกรม การปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจิตวิทยาการปรึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, อรวรรณ ศิลปกิจ และรสสุคนธ์ ชมชื่น. (2558). ความตรงของแบบวัดชุดความคิด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 23(3): 166-174.
ชนิตา รุ่งเรือง และ เสรี ชัดแช้ม (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งกาพัฒนศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 14(1): 1-13.
นครินทร์ สุวรรณแสง, ภราดร ยิ่งยวด และขวัญนภา ขวัญสถาพรกุล. (2562). “การประยุกต์กรอบความคิดแบบเติบโตเพื่อการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ ในยุคประเทศไทย 4.0”. วารสารสภาการพยาบาล. 34(3): 5-14.
รัญจวน คำวชิรพิทักษ์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัลลภา บุญรอด. (2548). “การเป็นพยาบาลพี่เลี้ยง คือกระบวนการสู่การพัฒนาตนเอง และการสร้างสรรค์ความเป็นวิชาชีพ”. วารสารพยาบาลกองทัพบก. 6(2): 7-18.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา บุญหนุน. 2544. “โครงการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบ้านหมี่”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และทหัยชนก อินลบ. (2564). “การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการต่อการเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโตของนักศึกษา คณะครุศาสตร์”. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 17(1): 110-119.
Blackwell, L. S., Trzesniewski, K. H., & Dweck, C. S. (2007). Implicit theories of intelligence predict achievement across an adolescent transition: A longitudinal study and an intervention. Child development. 78(1): 246-263.
Clark, A., & Sousa, B. (2018). How to be a happy academic. Thousand Oaks, CA: SAGE.
Corey, G. (2004). Theory and Practice of Counseling & Psychotherapy. USA: Thomson Brooks/Cole.
Weiss, M. R. (1995). The provisions of social relationships. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.