วิเคราะห์รูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสุระ ญาณธโร Mahachulalongkornrajavidyalay University Surin Campus
  • พระครูปริยัติปัญญาโสภณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระมหาวิศิต ธีรวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • วรภูริ มูลสิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทฺโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

วิเคราะห์รูปแบบ, การจัดการความรู้, เกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

        

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 2) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร โดยการศึกษาเอกสารอ้างอิงและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ โดยสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ โดยการสุ่มเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ผลการศึกษาสภาพการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร พบว่า การจัดการความรู้ด้านการแสวงหาความรู้ของเกษตรกรส่วนใหญ่จะสังเกตสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์หรือบุคคลที่ทำเกษตรอินทรีย์ ด้านการจัดเก็บความรู้ มีการจัดเก็บความรู้แบบการจดจำมากกว่าการจดบันทึก ด้านการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ จะเป็นการพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้กันภายในครอบครัว ชุมชน และเครือข่าย

            2) ผลการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ประกอบด้วย 4 ด้าน 28 ตัวชี้วัด โดยมีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 4.00-5.00 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เท่ากับ 0.00-1.00

            3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร พบว่า รูปแบบการจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ( = 4.33) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ( = 4.36)

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). แบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน หัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

กิติสา วงศ์คำ. (2557). การจัดการความรู้เชิงเกษตร ด้านภูมิปัญญาเกษตรทฤษฎีใหม่ : กรณีศึกษา กลุ่มเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธันวา จิตต์สงวน. (2544). “การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน”. รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 1 : ระบบเกษตรเพื่อการจัดการทรัพยากรและพัฒนาองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ปราโมทย์ เหลาลาภะ. (2556). การจัดการความรู้ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2), 69-81.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99-105.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การวิจัยพัฒนารูปแบบ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4), 9-11.

อัญชลี ยิ้มสมบูรณ์ และคณะ. (2554). “การจัดการความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม”. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 4(2), 56-66.

Keong, Lee Chu. and Al-Hawamdeh, Sukinman. (2002). Factors Impacting Knowledge Sharing. JIKM. 1(1): 49-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30