รูปแบบการบริหารจัดการรมณียสถานเชิงพุทธ
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการ, รมณียสถาน, การบริหารเชิงพุทธบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการบริหารจัดการรมณียสถานเชิงพุทธ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการ และนำเสนอปัญหา อุปสรรค รวมถึงข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับหลักพุทธธรรมในการบริหารรมณียสถานเชิงพุทธ การวิจัยดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูป/คน และการแจกแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่าง 360 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณตามสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากประชากรในตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการบริหารจัดการรมณียสถานเชิงพุทธอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.22) โดยเฉพาะด้านการบริหารทรัพยากรกายภาพที่ได้รับค่าเฉลี่ย 4.25 ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมกับการบริหารจัดการ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=0.956**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับปัญหาและอุปสรรค พบว่าควรจัดพื้นที่ในวัดให้เป็นสัดส่วน เช่น การตั้งกุฏิในที่มิดชิด อากาศถ่ายเทสะดวก และมีสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำเพื่อสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรม
องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการรมณียสถาน โดยมุ่งส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สงบ ร่มรื่น และเอื้อต่อการปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ ควรปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องความสะอาดและความรับผิดชอบต่อพื้นที่แก่ผู้ปฏิบัติธรรมและผู้มาเยือน เพื่อสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการรมณียสถานเชิงพุทธอย่างแท้จริง
References
พระมหาสมถวิล ปภาโส (อิหนิม). (2561). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ 7 . [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรชาติ พุทฺธสโร (ภาคพรม). (2561). การศึกษาหลักสัปปายะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรม ของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตจังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ พระมหาชิต โต้งกระโทก และวิโรจน์ คุ้มครอง.(2565). การส่งเสริมความสําเร็จในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสัปปายะ. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(4). 1908 – 1922.
พระเตวิช โชติญาโณ. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. [สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา]. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. กรุงเทพฯ : ธรรมสภาและสถาบันลือธรรม.
พระครูสังฆรักษ์วุฒิพงษ์ วุฑฒิวํโส และคณะ. “การพัฒนาวัดในประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6 (4). 1593-1594.