การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นันธิกา เรือนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จิรายุ ทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 362 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายปิด และปลายเปิดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเชิงปริมาณเท่ากับ 0.947 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t) ค่าเอฟ (F) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 10 ราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า

  1. ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมาโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.80 )
  2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ การศึกษา และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นโดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญและความรู้ให้แก่ประชาชนและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ เพื่อที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนในท้องถิ่นและส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

References

สถาบันพระปกเกล้า. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย.

กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ปรัชญา บุตรสะอาด พร้อมคณะ. (2566). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตาม

รัฐธรรมนูญ. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(2), 71-88.

พันเอก จักรพล บุณยปรัตยุษ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขต

เลือกตั้งที่ 9 หลักสี่-จตุจักร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสภา ยอดคีรีย์. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยสยาม.

ศุภกร เดชนันทรัตน์. (2566). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขต

เทศบาลตำบลพระอินทราชา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนอร์ท-กรุงเทพ.

วันทินี ภูธรรมะ. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล

ในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมิตานันท์ ดาบแก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาล

ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

สิริมา วัชระสุขโพธิ์. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ

ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยสยาม.

นภัส เล็กเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมือง

หนองปรืออำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐสุวัชร์ เส็งกิ่ง. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขต

เทศบาลตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐ

ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

โอภาส จิตระยนต์. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหาร

ส่วนตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร

มหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยบูรพา.

น.อ.อัคร์วินต์ วรรณะศิลปิน. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตดอน

เมืองกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาสำราญ นนฺทพุทฺธิ (ทะสูนย์). (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน

เขตเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิชารัฐ

ประศาสนศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระชัชชัย สมนฺตปาสาทิโก (มงคลเมือง). (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนใน

การปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร

มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. (2567). รายงานผลการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้นับ

บริการ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30