แนวทางการสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
คำสำคัญ:
แนวทาง, การสร้าง, ข้อบังคับ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ประธานคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน และนักวิชาการ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาพรรณนารายละเอียด ตีความ และอธิบายความ ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงบ้านทุ่งโก ตำบลหนองเมธี อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านองค์ความรู้ ปัจจัยด้านความร่วมมือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านการตลาด และปัจจัยด้านเทคโนโลยี และ 2) การสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน มีกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตามกรอบคุณลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในการวางแผน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินงานในการสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่การร่างข้อบังคับ การปรับปรุงข้อบังคับ และการลงมติรับรองข้อบังคับ 3) ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวทางการกระจายผลประโยชน์จากการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ 4) ขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยในแต่ละด้านได้กำหนดขั้นตอนและกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุกขั้นตอนของการสร้างข้อบังคับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดังนั้น กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละด้านมีขั้นตอนที่ชัดเจน โดยเน้นให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การการดำเนินงาน การติดตามและประเมินผล ไปจนถึงการปรับปรุงข้อบังคับ ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จได้
References
กษมาพร พวงประยงค์. (2554). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา สุริยะศรี. (2566). “แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู”. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 5 ฉบับที่ 8เดือนสิงหาคม 2566.
ชยาพร วัฒนศิริ และคณะ. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของผักเกษตรอินทรีย์ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นารินจง วงศ์อุต และสมเกียรติ ชัยพิบูลย. (2564). “ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัยแม่ปาน-สันเกี๋ยง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม 2563, 109 – 117.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20ปี (พ.ศ. 2560 - 2579).
อัญชลี กำริสุ เขมิกา ทองเรือง และสำราญ วิเศษ. (2566). “แนวทางการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดนครพนม”. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 9 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2566, 171 - 118.