การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน และ 2) การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุน มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเทคนิคซินเนคติกส์ 2) ด้านการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) ด้านบทเรียนบนเว็บ 4) ด้านระบบสนับสนุน 5) ด้านผู้เรียน และ 6) ด้านครูผู้สอน และมี 5 ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความต้องการ 2) กำหนดงานตามเป้าหมาย 3) นำไปใช้วางแผนการเรียน 4) พากเพียรเรียนรู้ และ 5) มุ่งสู่การประเมินและสรุปผล และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.07) สามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนได้
Article Details
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกียรติศักดิ์ วจีศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองบนเว็บเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2553). MODEL การจัดการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้สร้างสรรค์. ธารอักษร.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาวุฒิ นิลมณี ดวงกมล โพธิ์นาค และกฤช สินธนะกุล (2554). การจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบVARK ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลาวัณย์ ทองมนต์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.
สมคิด อิสระวัฒน์. (2539). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนไทย วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล,3(4), 177-181.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).(2559). รายงานสรุปผลสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สุทิพย์ เป้งทอง. (2555). การพัฒนาตัวแบบการเรียนการสอนแบบพินส์-เว็บเควสท์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะทางความคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2548). แนวคิดทางอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็นคิดให้สร้างสรรค์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทิรา พรมพันธุ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบเบรนเบสด์ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bersin, J. (2004). The blended learning book : Best practices. Proven methodologies and lessons earned.Calif: Pfeiffer.
Dade, C. (2010). Edited by, James Bellanca & Ron Brandt. Comparing frameworks for 21st century
skills. 21st Century skills : Rethinking how students learn. Solution Tree Press,51-76.
Gordon, William, J.J. (1972). Synectics : The Development of Creative Capacity. Collier-Macmillan Ltd,.
Hurlock, E.B. (1972). Child Development. (5thed.), McGraw Hill.
Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning : A guide for learners and teachers. Follett Publishing.
Paziotopoulos, A.,& Kroll, M. (2004).“Hooked on thinking.” Journal of The Reading Teacher,57(7),672-677.
Torrance, E.P. (1965). Rewarding creative behavior : experiments in classroom creativity. New Jersey.