การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

นวลจันทร์ ตระกูลวาง
ประวิทย์ สิมมาทัน
สนิท ตีเมืองซ้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 13 คน และ 2) การประเมินรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุน มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเทคนิคซินเนคติกส์ 2) ด้านการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) ด้านบทเรียนบนเว็บ 4) ด้านระบบสนับสนุน 5) ด้านผู้เรียน และ 6) ด้านครูผู้สอน และมี 5 ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ความต้องการ 2) กำหนดงานตามเป้าหมาย 3) นำไปใช้วางแผนการเรียน 4) พากเพียรเรียนรู้ และ 5) มุ่งสู่การประเมินและสรุปผล และการประเมินรูปแบบการเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.62, S.D. = 0.07) สามารถนำรูปแบบการเรียนรู้ไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนได้

Article Details

How to Cite
ตระกูลวาง น., สิมมาทัน ป., & ตีเมืองซ้าย ส. (2020). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคซินเนคติกส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีเว็บสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(3), 117–128. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/251536
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกียรติศักดิ์ วจีศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองบนเว็บเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2550). E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2553). MODEL การจัดการศึกษาและแหล่งการเรียนรู้สร้างสรรค์. ธารอักษร.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาวุฒิ นิลมณี ดวงกมล โพธิ์นาค และกฤช สินธนะกุล (2554). การจำแนกรูปแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบVARK ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลาวัณย์ ทองมนต์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. ตถาตาพลับลิเคชั่นจำกัด.
สมคิด อิสระวัฒน์. (2539). ลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนไทย วารสารมหาวิทยาลัยมหิดล,3(4), 177-181.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).(2559). รายงานสรุปผลสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558). สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สุทิพย์ เป้งทอง. (2555). การพัฒนาตัวแบบการเรียนการสอนแบบพินส์-เว็บเควสท์ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะทางความคิดและการเรียนรู้ด้วยตนเอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2548). แนวคิดทางอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็นคิดให้สร้างสรรค์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อินทิรา พรมพันธุ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบเบรนเบสด์ในวิชาการออกแบบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bersin, J. (2004). The blended learning book : Best practices. Proven methodologies and lessons earned.Calif: Pfeiffer.
Dade, C. (2010). Edited by, James Bellanca & Ron Brandt. Comparing frameworks for 21st century
skills. 21st Century skills : Rethinking how students learn. Solution Tree Press,51-76.
Gordon, William, J.J. (1972). Synectics : The Development of Creative Capacity. Collier-Macmillan Ltd,.
Hurlock, E.B. (1972). Child Development. (5thed.), McGraw Hill.
Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning : A guide for learners and teachers. Follett Publishing.
Paziotopoulos, A.,& Kroll, M. (2004).“Hooked on thinking.” Journal of The Reading Teacher,57(7),672-677.
Torrance, E.P. (1965). Rewarding creative behavior : experiments in classroom creativity. New Jersey.