การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีน หลังเรียนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีนชั้นปีที่ 1 หมู่เรียนที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 28 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฟังและการพูดภาษาจีนกลาง (รหัสวิชา 1034105) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดภาษาจีน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.57/86.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีนชั้นปีที่ 1 มีคะแนนทักษะการพูดภาษาจีนหลังเรียนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติ คิดเป็นร้อยละ 86.25 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีนชั้นปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅=4.67, S.D.=0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(5), 7-20.
ทิศนา แขมมณี, (2552). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยจิตร สังข์พานิช. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาฝรั่งเศสด้วยการแสดงบทบาทสมมติสำหรับนักศึกษา วิชาเอกการจัดการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ. วารสารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ. 134(40), 41-54.
ภัทรลดา วงษ์โยธา และแสงอาทิตย์ ไทยมิตร. (2560). กิจกรรมบทบาทสมมติ (Role Play) กับการประยุกต์สู่การสอนพูดภาษาอังกฤษ. วารสารแสงอีสาน, 15(1), 101-114.
รุ่งฤดี แผลงศร. (2559). การใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 36(2), 191-208.
เสาวคนธ์ จันต๊ะมาด. (2565). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 72-85.
อัญชลิการ์ ขันติ. (2562). ศึกษาศาสตร์สาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Huanhuan Ma, ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และนิรุต ถึงนาค. (2562). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ. วารสารช่อพระยอม, 30(2), 143-153.
Skehan, P. (1998).Task based instruction. In W. Grahe (Ed.), Annual Revie of Applied Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press.
Ur, P. (1998). Teaching listening comprehension. Cambridge University Press.