การพัฒนาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3. ศึกษาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 9 คน นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4. แบบประเมินทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีคุณภาพในระดับมาก (x̅=4.20, S.D.=0.69) 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3. ทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 60
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2565) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2566-2570.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2566). แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ.2564-2570 ฉบับปรับปรุง 2566-2570.
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. (2560). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ประเมินแบบรูบริคส์ออนไลน์ ด้านการรู้สารสนเทศ การรู้สื่อ และการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2562). บรรยายการอบรมเชิงวิชาการ เรื่อง การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning). http://qa.hcu.ac.th/km/fileuploads/Blended-learning-2562.pdf.
นารียะ เจะโนะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทักษะการเรียนรู้สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. สุวิริยาสาสน์.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
วิไลวรรณ วงศ์จินดา และ นนทโชติ อุดมศรี. (2565). การศึกษาพฤติกรรมและทักษะการรู้ทันสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตรอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(1),101-109.
ศักดิ์ชัย นันทราช, สำราญ กำจัดภัย และ อุษา ปราบหงส์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(29), 35-43.
Allen, I. E., & Seaman, J. (2005). Growing by Degree : Online Education in the United States. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED530063.pdf.
Bernath, R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. http://www.testden.com/partner/ blended%20learn.html.
Carman, J. M. (2005). Blended Learning Design : Five Key Ingredients. http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20Learning%20Design.pdf. Retrieved on 20 July 2022.
Christensen, C. M., Horn, M. B., & Staker, H. (2013). Is K-12 blended learning disruptive? An introduction of the theory of hybrids. San Mateo: Clayton Christensen Institute. http://www.christenseninstitute.org/wp-content/uploads/2013/05/Is-K-12-Blended-Learning-Disruptive.pdf.
Driscoll, M. (2002). Blended Learning : Let’s get beyond the hype. https://www.researchgate.net/publication/286029739_Blended_learning_Let’s_get_beyond_the_hype.
Graham, C.R. (2012). Introduction to Blended Learning. http://www.media.wiley.com/product_data/except/86/C.pdf.
Mahalli., Nurkamto, J., Mujiyanto. J, & Yuliasri. I. (.2020). Students’ Perception of Blended Learning Implementation in EFL Learning. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 11(8), 161-172.
Oliver, M., & Trigwell, K. (2005). Can Blended Learning Be Redeemed?. E-Learning and Digital Media. 2(1), 17–26. https://doi.org/ 10.2304/elea.2005.2.1.17.