การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นแบบผสมผสานสำหรับเยาวชน เพื่อฝึกทักษะการออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้า ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เข้าอบรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มเยาวชน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมโครงการ U2T จำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเยาวชน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าร่วมโครงการ U2T จำนวน 15 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.27/82.67 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมก่อนและหลังการฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.42, S.D. = 0.74)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
ณรงค์ฤทธิ์ มะสุใส และคณะ. (2561). การออกแบบลายผ้าทอมือ สำหรับสร้างสรรค์แฟชั่นร่วมสมัยจากภูมิปัญญากลุ่มวิสาหกิจชุมชนตาบลกุดหว้า ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. [รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์]. https://itcs-sht.ksu.ac.th/manage/upload_file/xJmCnnXgKs220200827081215.pdf
ปรียานุช มีจาด. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องการเพิ่มมูลค่าการแปรรูปอาหารจากกล้วยน้ำว้า สำหรับกลุ่มสตรีและเยาวชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย. วารสารครุพิบูล, 8(2), 279-291.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์, ชมนาถ แปลงมาลย์ และ นุชนาถ มีนาสันติรักษ์. (2566, 4 กันยายน). หลักสูตรการออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. https://mooc.rmu.ac.th/course/240
วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย และ หงส์วริน ไชยวงศ์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “ขนมไทย” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย, 15(2), 82-93.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.