การส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยการเรียนรู้ผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองเรือ จังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปฏิบัติการส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองเรือ 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองเรือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองเรือ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน 2) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม 3) แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยการเรียนรู้ผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กำหนดหัวข้อและจัดกลุ่มนักเรียน (2) วางแผนการทำงาน (3) ดำเนินการค้นคว้า (4) เตรียมการนำเสนอ (5) นำเสนอข้อมูล และ (6) ประเมินผล พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่อยากจะค้นหาคำตอบและตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีความสุขและสนุกกับทำกิจกรรม เกิดความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และเต็มที่กับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง 2) ผู้เรียนมีพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ ส่วนผลการวิเคราะห์แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม วงรอบปฏิบัติการที่ 2 พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพมาก 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยโครงงานเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2562). การสังเคราะห์การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน: บูรณาการความรู้จิตวิทยาชุมชนสู่การบริการสังคม สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 45(1), 229-268.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรเทพ พัฒธนานุรักษ์ และคณะ. (2562). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี พ.ศ. 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สังคม ไชยสงเมือง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการใช้เทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Good. C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw Hill Book.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.
Wolman, T. E., (1973). Education and Organizational Leadership in Elementary School, Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall.