การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับบทเรียนวิดีทัศน์ เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์ เรื่องโปรแกรมการตกแต่งภาพ ที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่อง โปรแกรมการตกแต่งภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์ เรื่องโปรแกรมการตกแต่งภาพ ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้การจัดการเรียนการสอนตามนวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์ เรื่องโปรแกรมการตกแต่งภาพ ที่พัฒนาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามนวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์เรื่อง โปรแกรมการตกแต่งภาพ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน ใช้เวลาสอน 22 ชั่วโมง ตามแผนการทดลอง One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 2) บทเรียนวิดีทัศน์ เรื่องโปรแกรมตกแต่งภาพ จำนวน 11 ตอน ตามเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอนเรื่อง โปรแกรมการตกแต่งภาพ จำนวน 4 หน่วยการเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ The Test of Creative Thinking-Drawing Production (TCT-DP) และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับการใช้บทเรียนวิดีทัศน์ เรื่อง โปรแกรมการตกแต่งภาพมีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.50/81.00 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระดับความคิดสร้างสรรค์ทั้งโดยรวมและรายองค์ประกอบของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อนวัตกรรมแผนการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนความพึงพอใจเท่ากับ 4.01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อกำหนดเบื้องต้นที่ผู้นิพนธ์(ผู้ส่งบทความ) ควรทราบ
1. ผู้นิพนธ์ที่ประสงค์จะลงตีพิมพ์บทความกับวารสาร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นไป ให้ใช้รูปแบบใหม่ (Template 2563) โดยสามารถดูตัวอย่างได้ที่เมนู GUIDELINES
2. จะตีพิมพ์และเผยแพร่ได้ ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
3. การประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) เป็นแบบ Double Blind
4. การอ้างอิงบทความใช้หลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) คลิก
5. บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ ไม่ผ่านการประเมิน ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกเองหรือชำระเงินก่อนได้รับการอนุมัติ ทางวารสารไม่มีนโยบายการคืนเงิน
References
กนิษฐา พูลลาภ. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สังวรณ์ งัดกระโทก. (2561). การวัดและประเมินผลสำหรับการจัดการศึกษาอิงมาตรฐาน. จตุพร ดีไซน์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. หจก. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 52-63.
หทัยชนก วงศ์กระจ่าง และ ศศิธร บัวทอง. (2561). การประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนแบบคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน โรงเรียนบ้านมาบแก จังหวัดนครสวรรค์. การประชุมเสนอผลงานระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 (น. 1127-1236). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภินภัศ จิตรกร. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(1), 23-42.
สุชิรา มีอาษา, จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ และ กฤช สินธนะกุล. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(1), 76-84.
Robert DiYanni. (2015). Critical and creative thinking : a brief guide for teachers. New York: USA, Wiley-Blackwell 264 Pages.
Leasa, M. Batlolona, J.R. and Talakua, M. (2021). ElememtaryStudents’ Creative thinking skill in Science in the Maluku Islands, Indonesia. Creative Studies, 14(1), 74- 89.