ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9

Main Article Content

ณัฏฐ์ คงเสน
ญาณภัทร สีหะมงคล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของนักเรียนกับแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 3) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 230 รูป ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แลแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ ทดสอบไคสแควร์
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9 ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล, ปัจจัยด้านการเงิน, ปัจจัยด้านหลักสูตร, ปัจจัยด้านสถานที่และปัจจัยด้านสังคม 2) ภูมิหลังของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅=4.44) 4) แนวทางการส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียนคือ (1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเข้าใจบริบทของโรงเรียน เช่น ทุนการศึกษาและค่าธรรมเนียมการศึกษา (2) ควรมีระบบการคัดเลือก ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน (3) ควรส่งเสริมและพัฒนา ผู้บริหารให้เป็นนักบริหารมืออาชีพ (4) ควรมีการปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น (5) ควรจะมีการจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีความพร้อม (6) ควรมีการเชิดชูเกียรติศิษย์เก่าเพื่อให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (7) ควรมีการเน้นการจัดให้มีครูแนะแนวขึ้นเป็นการเฉพาะ

Article Details

How to Cite
คงเสน ณ., & สีหะมงคล ญ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักเรียน ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 9. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(3), 154–173. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu-rmu/article/view/269729
บท
บทความวิจัย

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2564). ข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา 2564. กองพุทธ.

กุสุมา สารดี. (2551). ปัจจัยจำแนกการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อต่างประเทศ: การวิเคราะห์จำแนก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติศักดิ์ นันทพานิช. (2566). เด็กเกิดน้อยกว่าตาย ทำเศรษฐกิจ สังคม เสี่ยง. ThaiPublica.

จิณณวัตร กิ่งแก้ว และ สมบัติ คชสิทธิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนปริยัติธรรมกลุ่มที่ 5 สู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 4(2), 162-170.

จุรีรัตน์ เสนาะกรรณ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธรรมราช. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(27), 97.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ กลิ่นเลขา. (2539). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนอาชีวศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ธนชัย ยมจินดา และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจระดับมหาบัณฑิตของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(3), 75.

นิชานันท์ ปักการะนา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางส่งเสริมการศึกษาต่ออาชีวศึกษา : การวิจัยแบบผสานวิธี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุษบา บุตรดา และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(4), 5.

พรพิมล สัมพัทธพงศ์. (2556). บทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 7(3), 214-225.

พระครูพนมปรีชากร แก้วบุตตา. (2561). อนาคตของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระหว่าง พ.ศ. 2559-2573. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3). 128-135.

พระมหาพิชิต ธมฺมวิชิโต. (2561). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักอริยสัจ 4. สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีระพงษ์ มีไธสง. (2541). แรงจูงใจในการตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการตัดสินใจบรรพชาสามเณรในจังหวัดนครศรีธรรมราชกับจังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2542). การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชญดา นวลสาย. (2563). การศึกษาสภาพปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(1), 53.

พระอุดร คงทอง. (2549). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบาย การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาไปปฏิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณี วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัคจิรา เกตุบุตร และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 7, 42-51.

วลัยพร ขันตะคุและคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2563. Modern Learning Development, 5(4), 32.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2533). การศึกษาทางไกล. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมิตา จุลเขตร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 195-210.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองพุทธศาสนศึกษา. (2562). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562). กองพุทธศาสนศึกษา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. 13-17.

สิทธิพันธ์ ยศยอดยิ่ง. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลยของนิสิตปริญญามหาบัณฑิตทางการศึกษา: การวิเคราะห์จำแนกพหุ. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนวย มีราคา. (2563). บทบาทครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(1), 221-231.

Perttit joseph and Litten Larry H. (1999). A New Era of Alumni Research : Improving Institutional Performance and Better Service Alumni. San Francisco. Jossey-Bass.