รูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ประสาท จูมพล University of Phayao
  • โกศล มีคุณ University of Phayao
  • วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล University of Phayao
  • ธารินทร์ รสานนท์ University of Phayao

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารการพัฒนา, สมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษา, การพัฒนานิสิตนักศึกษาในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุสำคัญของสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และ 3) สร้างและประเมินความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ได้จริง   ของรูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 280 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดมาตรประเมินรวมค่า 11 แบบวัด มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ .900 ถึง .916 และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการพัฒนา สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุสำคัญของสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวแปรปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย (1) การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากคนใกล้ชิด (2) บรรยากาศในมหาวิทยาลัย (3) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร และ (4) วัฒนธรรมในมหาวิทยาลัย และกลุ่มตัวแปรปัจจัยภายในด้านความเชื่ออำนาจในตนในการทำงานพัฒนานิสิตนักศึกษา ร่วมกันอธิบายสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ได้ร้อยละ 58.5 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าอธิบายสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (R2X100) ร้อยละ 98.3 และ 3) รูปแบบการบริหารการพัฒนาที่ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งส่วนที่ดำเนินการโดยผู้บริหารฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาและส่วนที่ดำเนินการ โดยฝ่ายพัฒนา มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมสูงกว่าร้อยละ 92 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70/75

References

โกศล มีคุณ, & ณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู. รายงานการวิจัย ทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

โกศล มีคุณ. (2557). การวิจัยเพื่อสร้างเครื่องมือวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมชนิดทั่วไปและชนิดเฉพาะกิจและการประเมินความตรงจากการวัด. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 11(1-2).

จีรวัฒน์ วีรังกร. (2559). ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/.../47881/

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2524). จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม การวิจัยและการพัฒนาบุคลากร ตำราขั้นสูงทางสังคมพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล: ทฤษฎี และผลการวิจัยเพื่อสร้างดัชนีในแนวจิตพฤติกรรมศาสตร์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 47(1).

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ: แบบวัดทั่วไปและแบบวัดเฉพาะกิจและการประเมินคุณภาพจากการใช้. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 11(1-2).

ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนานักศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2541). บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการศึกษาเพื่อความเป็นประชาสังคม. ASAIHL-Thailand Journal, 1(1).

ศิริชัย กาญจนวาสี, และคณะ. (2535). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.1992.513

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2560, จาก http://www.mua.go.th/university.html

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2566). ข้อมูลปีการศึกษา 2567 ภาคการเรียนที่ 1 กำหนดการเก็บข้อมูล ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2566. สืบค้นจาก https://info.mhesi.go.th/homestat_std.php

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2561). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา. (2563). กรอบแนวทางการดำเนินการตามมาตรฐานกิจการนักศึกษา. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

Kohlberg, L. (1964). Development of moral character in moral ideology. In Hoffman, M. L., & Hoffman, I. V. (Eds.), Review of Child Development Research.

Kohlberg, L., Levine, C., & Hewer, A. (1983). Moral stage: A current formulation and response to critics. In J. A. Meacham (Ed.), Contributions to Human Development (Vol. 10). Basel, Switzerland: Karger.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archive of Psychology, 14(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

จูมพล ป. ., มีคุณ โ., ภู่วัฒนกุล ว. ., & รสานนท์ ธ. . (2024). รูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายพัฒนานิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 390–405. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/278602