ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ พาชอบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สื่อประสม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ75 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.34 - 0.64 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.27 - 0.68 และค่าความเชื่อมั่น 0.88 3)แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบไม่อิสระและการทดสอบค่าที แบบกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับดี 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์

กุลยา กอศรีพร, และกมลวรรณ แหวนประดับ. (2563). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD”.วารสารครุศาสตร์.คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(1), 13-23.

ณัฐวรรณ ลาสิทธิ (2565) ได้ศึกษา การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ร่วมกับผังกราฟิกเรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรธร เลอศิลป์. (2554). ผลการใช้กิจกรรมสื่อประสมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาแบบเรียนรวม (SPE 3601) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรี รื่นนาค .(2564). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STADร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา ทรัพย์สูงเนิน, ดุสิต ขาวเหลืองและสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาการบัญชี. e-Journal of Education Studies. Burapha University. 2(2), 44-59.

Slavin, E., Robert. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. 4th edition. Allyn and Bacon, Boston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พาชอบ จ. (2024). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 253–261. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279038