ปัจจัยส่งเสริมการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • ฐิติรัตน์ สมงาม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • โกศล มีคุณ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู, สถานศึกษา, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรปัจจัยภายนอกและภายในที่ส่งเสริมการเป็นสมาชิกชมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) เพื่อศึกษาการอธิบายของปัจจัยภายนอกและภายในต่อการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้วยกลุ่มตัวแปรปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 จำนวนขั้นต่ำ 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่าซึ่งเป็นข้อความประกอบมาตร 6 ระดับ ตั้งแต่จริงที่สุด ถึงไม่จริงเลย มีค่าอำนาจจำแนก r-Item total Correlation ตั้งแต่ 290 ถึง .797 ค่าความเที่ยงโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (α-coefficient) เท่ากับ .959 สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติติพื้นฐานและสถิติอ้างอิงเพื่อการทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัย 4 ประการ 1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรปัจจัยกับการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัย 4 ประการ ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง (ค่า r = .429 ถึง .717, P<.01) และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับตัวแปรการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู พบว่า ค่าความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ถึง สูง (ค่า r = .603 ถึง .756, P<.01) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำนายการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูด้วยตัวแปรปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก พบว่า 1) ตัวแปรปัจจัยความรู้ ความเข้าใจในบทบาทสมาชิก (X1) และทัศนคติต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (X2) ร่วมกันอธิบายการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูได้ร้อยละ 64 2) เมื่อเพิ่มตัวแปรปัจจัยการรับรู้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร (X3) และการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน (X4) อธิบายการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเป็นร้อยละ 68.5 ซึ่งการอธิบายเพิ่มขึ้นจากการอธิบายเพียงกลุ่มตัวแปรปัจจัยภายในร้อยละ 4.5

References

กานติมา กานดา. (2566). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 6(1): 15-27.

ชวลิต ชูกำแพง. (2565). ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่การวิจัยในชั้นเรียน. วาสารครุทรรศน์, 1(1): 53-63.

นพมาศ พยุงวงษ์. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูประถมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 11(1): 11-22.

นริศ บุญญานุพงศ์, ช. พ. (2566). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจภายในที่พยากรณ์ต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. ก.ค. 5.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พ. ย. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์หนังสือจุฬา/chula.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ:แนวทางปฏิบัติสำหรับครู. ว.มทรส. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 214-228.

วิโรจน์ สุวรรณประไพ. (2564). ทัศนคติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในหน่วยงานเทศบาลเมืองกระบี่. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เสถียร อ่วมพรหม. (2560). แนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ศูนย์หนังสือจุฬา/chula.

เอกพล อยู่ภักดี. (2560). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2): 36-45.

Bloom. (1976). Human Characteristics and School Learning. Mc Graw-Hill.

Davis, T. (1989). Effective school and effective teachers. Allyn & Bacon.

Osama Al Mahai. (2022). Professional Learning Communities in Private Schools in Bahrain and Oman:Reflection on Two Cases. ECNU Review of Education 6(3): 469-484.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

สมงาม ฐ. ., & มีคุณ โ. (2024). ปัจจัยส่งเสริมการเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 . Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 200–211. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279209