แนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
คำสำคัญ:
การขับเคลื่อน, โรงเรียนแห่งความสุข, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข และ 3) เสนอแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 15 คน และครู 346 คน รวม 361 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อายุ และประสบการณ์ ในขณะที่ตัวแปร เพศ ตำแหน่ง และสหวิทยาเขต ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนแห่งความสุข ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกอบด้วย แนวทางหลัก 1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลตามความเชี่ยวชาญ แนวทางเสริม 1) การส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในโรงเรียน 2) การบูรณาการการทำงานระหว่างตำแหน่ง 3) การประสานความร่วมมือระหว่างสหวิทยาเขต
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชินกฤต ศรีสุข และคณะ. (2567). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนแห่งความสุขสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7), 445 - 463.
พัตร์นิวรรณ ศิริภูมิ และชนมณี ศิลานุกิจ. (2567). องค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. วารสารนิติรัฐ, 2(1), 36 – 47.
รุจิกร ตุลาธารและนุชนรา รัตนศิระประภา. (2567). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งความสุข ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสาร มจรบาลีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 10(2), 204 – 221.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). โรงเรียนสุขภาวะ การศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่ (Healthy School). เข้าถึงได้จาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/591e0f31-e19d-e711-80e3-00155d65ec2e
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุทัยวรรณ ศรีรัตน์, และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2563). การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 17 – 31.
อุทัยวรรณ ศรีรัตน์. (2562). การเป็นโรงเรียนแห่งความสุขของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองฝ้าย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร
Fullan, M. (2007). The New Meaning of Educational Change. New York: Routledge.
Kenneth Leithwood and Jingping Sun. (2018). Academic culture: a promising mediator of school leaders’ influence on student learning. Journal of Educational Administration, 56(4), 350 – 363.
Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge-Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York: Oxford University Press.
UNESCO. (2016). Happy Schools! A Framework for Learner Well-being in the Asia Pacific. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000244140
United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development. New York: United Nations
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.