การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กฎหมายกับชีวิตและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ทิวพร ส่งศรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแปพลิเคชัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ทักษะการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎหมายกับชีวิตก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎหมายกับชีวิตหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมถ์ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎหมายกับชีวิต (4) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples และแบบ Independent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายกับชีวิต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายกับชีวิต หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (M) เท่ากับ 4.80 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.40

References

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.

ธีระวัฒน์ เซิบรัมย์. (2564, ตุลาคม-ธันวาคม). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิคคำถาม R-C-A ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โรงเรียนชุมชนไมตรี อุทิศจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 82-97.

พิพัฒน์พงษ์ ดำมาก. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสาร สสวท., 45(209), 40-45.

วริศรา เมืองจันทร์. (2563). การจัดกิ จกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องรูปทรงเรขาคณิต. (ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต กศ.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วิภาพรรณ พินลา. (2561, มกราคม –มิถุนายน). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาเพื่อ พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(1),13-34.

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561, เมษายน -มิถุนายน). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมอง แบบองค์รวมและการเช้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ส่งศรี ท. ., & อัศวโสวรรณ อ. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กฎหมายกับชีวิตและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 554–567. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279821