รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติเจติยคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระปลัดฮอนด้า วาทสทฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • ยิ่งสรรค์ หาพา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • กณสิทธ์ จตุเทน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สมรรถนะผู้บริหาร, หลักพละ 4

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) โดยมีขั้นตอนของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์  ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นที่ต้องของการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตาม ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ลำดับที่ 1. ด้านการพัฒนาตนเอง 2. ด้านการทำงานเป็นทีม 3.ด้านการบริการที่ดี 4.ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 มีคุณภาพสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งรูปแบบ ประกอบด้วย 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีการปฏิบัติ 4) เป้าหมายสู่ความสำเร็จ 5) กลไกขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ 3)การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ก่อนนำรูปแบบไปใช้มีคุณลักษณะของกระบวนการดำเนินการ มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกองค์ประกอบ

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2566). สถิติข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. Retrieved January 3, 2023, from https://deb.onab.go.th/th/content/page/index/id/6681

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรมการศาสนา.

ภวัต นิตย์โชติ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพละ 4 ของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา [ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย]. บัณฑิตวิทยาลัย.

ภัคควลัณชญ์ สาระลัย. (2558). การบริหารและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. บัณฑิตวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมาน แก้วคำไสย์. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด]. บัณฑิตวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-01

How to Cite

พระครูปริยัติเจติยคุณ, วาทสทฺโท พ. ., หาพา ย. ., & จตุเทน ก. . (2025). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(2), 33–41. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/280350