ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน กับความตั้งใจในการทำงานของครูอัตราจ้าง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพ 2
คำสำคัญ:
การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน, ความตั้งใจในการทำงานของครูอัตราจ้างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน และความตั้งใจในการทำงานของครูอัตราจ้าง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพ 2 2) เพื่อทำนายความตั้งใจในการทำงานด้วยการรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน ของครูอัตราจ้าง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูอัตราจ้างในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพ 2 จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดชนิดมาตรประมาณรวมค่า 3 แบบวัดมีค่าความเที่ยง(α) .768 ถึง .775 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบเป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน และความตั้งใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์ระหว่างกันระดับต่ำถึงปานกลาง 2) การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน ทำนายความตั้งใจในการทำงานของครู ได้ร้อยละ 33% 3) การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียนร่วมกันทำนายความตั้งใจในการทำงานของครูด้านความพร้อมเอาใจใส่การทำงานได้มากกว่าร้อยละ 25% 4) การรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และความคาดหวังในสวัสดิการของโรงเรียน ร่วมกันทำนายความตั้งใจในการทำงานของครูในการปฏิบัติที่ได้รับมอบหมายด้วยความเพียรพยายามอดทน และ ความตั้งใจในการทำงานของครูด้านการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายด้วยความทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ ได้น้อยกว่าร้อยล่ะ 25%
References
โกศล มีคุณ และ ณรงค์ เทียมเมฆ. (2545). ผลของการฝึกใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมจริยธรรมของครู. ทุนอุดหนุนการวิจัย โครงการแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ณัฐธิดา สุระเสนา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].
วิเชียร ธรรมาธร. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมด้านอุทิศตนของข้าราชการกรมกำลังพลทหารอากาศ. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 1(2), 97–114.
อมรา พิมพ์สวัสดิ์. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา].
อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].
Prochaska, J. O., & DiClemente, C. C. (1984). The transtheoretical approach: Crossing traditional boundary of change. Homewood, IL: Dow Jones-Irwin.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.