ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1

ผู้แต่ง

  • กิตติเมธ จริตงาม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย
  • อรรครา ธรรมาธิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย
  • วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย
  • ปราโมทย์ พรหมนิล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล, องค์กรสมรรถนะสูง, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการเป็นพลเมืองดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล 2. การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการมุ่งเน้นคุณภาพบุคลากร รองลงมาคือ การจัดโครงสร้างกระบวนการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการนำองค์กร 3. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 คือ การเป็นพลเมืองดิจิทัล และการเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล โดยส่งผลกันในทางบวกทุกด้าน 4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ปรากฏผล 4 ด้าน 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ผู้นำดิจิทัล ผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีวิเคราะห์แนวโน้มทางการศึกษา เพื่อกำหนดทิศทางองค์กรและขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลและระบบติดตามผล 2) ด้านการเป็นมืออาชีพด้านดิจิทัล ส่งเสริมทักษะบุคลากรผ่านการอบรมและศึกษากรณีตัวอย่างระดับสากล นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในการบริหารและการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน 3) ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล สนับสนุนการพัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านการฝึกอบรม การใช้เครื่องมือดิจิทัล และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ทันสมัย และสามารถทดลองใช้นวัตกรรมได้ 4) ด้านการเป็นพลเมืองดิจิทัล ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ สร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยออนไลน์ และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมอย่างสร้างสรรค์ ช่วยให้สถานศึกษาปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ณัฏรณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนัชพร โมราวงษ์. (2555). ปัจจัยทางจิตวิทยาองค์การที่มีอิทธิพลต่อการนำไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ : กรณีศึกษาโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 253–264.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล (Administration of Educational Organization in Digital Era). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวนา กิตติวิมลชัย. (2558). คุณลักษณะและแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13.

เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วารสารรัชภาคย์, 15(38), 224-240.

ศรีสมบัติ นวนพรัตน์สกุล. (2553). แนวทางการพัฒนาเพื่อเป็นองค์การสมรรถนะสูง: กรณีศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. ดุษฎีนิพนธ์เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ปีงบประมาณ 2567. ตรัง: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). กรอบสมรรถนะดิจิทัล.

สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Sheninger, E. (2019). Digital leadership: Changing paradigms for changing time. Newbury Park, CA: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-01

How to Cite

จริตงาม ก., ธรรมาธิกุล อ., ชาตะกาญจน์ ว., & พรหมนิล ป. . (2025). ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(2), 42–55. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/282790