การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้; บอร์ดเกม; ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกม ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 2) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เวลา 12 ชั่วโมง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คน ของโรงเรียนขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บอร์ดเกม แบบสะท้อนผลกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และใบกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่ การเตรียมความรู้พื้นฐานที่จำเป็นของนักเรียนและความพร้อมของบอร์ดเกม การนำเสนอและสาธิตการเล่นเกมให้มีความน่าสนใจ และการให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด 2) นักเรียนมีพัฒนาการของทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยมีความเข้าใจปัญหามากที่สุด รองลงมาคือ การตรวจสอบคำตอบ การใช้ยุทธวิธีการแก้ปัญหา และการเลือกยุทธวิธีการแก้ปัญหา ตามลำดับ
References
กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล. (2548). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จรุง ขำพงศ์. (2542). ผลของการใช้กลวิธีเมตาคอคนิชัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีวรรณ เศวตมาลย์. (2544). ศิลปะการสอนคณิตศาสตร์: กรุงเทพฯ : สุวีรินาสาส์น.
ทิฎิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผ่าน เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิภู มูลวงค์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการAction Research. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 2(1), 29 – 49.
วันชาติ เหมือนสน. (2546). เทคนิคการสอนเกม. ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพลศึกษา : สุพรรณบุรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
สฤณี อาชวานันกุล. (2559). Board game universe จักรวาลกระดานเดี่ยว. กรุงเทพฯ : แซลมอน
สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2542). การประกันคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา. (2562). การประกันคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
อัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์จิ๊กซอว์ที่มีประสิทธิภาพ.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา,
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Khammani, T. (2016). Pedagogy: knowledge for effective learning processes (20th ed.).
Bangkok: Chulalongkorn University.
Laohajaratsang, T. (2001). Web-based instruction: Innovation for quality of teaching and
learning. Journal of Education, 28(1), 87-94.
Polya, G. (1957). How To Solve It A New Aspect of Mathematical Method. Garden City.
New York: Doubleday and Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.