การบริหารจัดการเพื่อให้บริการประชาชนตามแนวคิด การบริหารจัดการยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วิรัช วิรัชนิภาวรรณ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การให้บริการประชาชน, แนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวทางการปรับปรุง และตัวแบบแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อให้บริการประชาชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล  ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษาครั้งนี้ ได้ออกแบบรูปแบบการวิจัยให้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลจากประชากรเป็นจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.89 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.85 ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครที่ประกอบด้วยสำนักงานเขต 50 เขต จำนวน 5,682,415 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่สำนักงานเขต 4 เขต ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตสวนหลวง เขตบางกอกน้อย เขตวังทองหลาง และเขตธนบุรี จำนวน 1,109 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-30 ธันวาคม 2562 เก็บรวบรวมแบบสอบ ถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 972 ชุด/คน คิดเป็นร้อยละ 87.65 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,109 คน สำหรับวิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูป แบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามแนวคิดสโนว์บอลล์ และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว คนละไม่น้อยกว่า 60 นาที ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง

          ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กรุงเทพมหาน ครปฏิบัติงานให้บริการประชาชนโดยให้ความสำคัญกับผลประโยชน์และความต้องการของประชาชนไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กรุงเทพ มหานคร ควรปฏิบัติงานให้บริการประชาชนโดยยึดถือผลประโยชน์ ความต้องการ และความพึงพอใจของประชาชนเพิ่มมากขึ้น และ (3) กรุงเทพมหานครควรสร้างและนำตัวแบบแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อให้บริการประชาชนตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัลไปปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน และนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไปในอนาคตด้วย โดยตัวแบบดังกล่าวควรประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้าน 1) การให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชน 2) ความเป็นประชาธิปไตย (3) ความสะดวกรวดเร็ว 4) ความน่าเชื่อถือ และ 5) การประสานงานอย่างเป็นเครือข่าย

References

ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย. (2561). “การบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ” วารสารมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561), หน้า 335-349.
นภัสนันท์ พรรณนิภา และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “การบริหารจัดการการประกันภัยรถยนต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง”. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560), หน้า 207-217.
นันทพร สุริยกุล ณ อยุธยา และ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดเก็บขยะของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี”. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560), หน้า 156-167.
ภาสกร เหมกรณ์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา”. วารสาร อัล-ฮิกมะฮุ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. ปีที่ 7 ฉบับที่ 14 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560), หน้า 97-112.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2559). 50 แนวคิด ตัวชี้วัด ตัวแบบของการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการที่ ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วีณา วิจัยธรรมฤทธิ์. (2559). “การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามแนวคิดตะวันออก”. รัฐสภาสาร. ปีที่ 64 ฉบับที่ 10 (ตุลาคม 2559), หน้า 61-80.
เอกราช ช่างเหลา. (2561). “การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในจังหวัดขอนแก่นของกรมส่งเสริมสหกรณ์ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่ 5 ฉบับ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561), หน้า 311-329.
Biernacki, Patrick. and Waldorf, Dan. (1981). “Snowball Sampling: Problems and Techniques of Chain Referral Sampling”. Sociological Methods & Research. 10, 2 (1981): 141-163.
Brocki, J. J. M. and Wearden, A. J. (2006: 87-108). “A Critical Evaluation of the Use of Interpretative Phenomenological Analysis (IPA) in Health Psychology”. Psychology and Health. 21 (1), 2006: 87-108.
Cowles, Ernest L. and Nelson, Edward. (2015). An Introduction to Survey Research. New York: Business Expert Press, LLC.
Creswell, John W. and Clark, Vicki L. Plano. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Second Edition. Thousand Oaks, California: Sage Publications, Inc.
Cronbach, Lee Joseph. (1990). Essential of Psychological Testing. Fifth Edition. New York: Harper and Row Publishers Inc.
Everitt, Brian S. (1992). The Analysis of Contingency Tables. Second Edition. Boca Raton, Florida: Chapman and Hall/CRC.
Stone, Herbert., Sidel, Joel L., and Bloomquist, Jean. (1997: 63-70). “Quantitative Descriptive Analysis” in Gacula, M.C. Jr. (ed.). (1997). Descriptive Sensory Analysis in Practice. Trumbull, Connecticut: Food & Nutrition Press, Inc., pp. 63-70.
Yamane, Taro. (2012). Mathematics For Economists: An Elementary Survey. Whitefish, Montana: Literary Licensing, LLC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-15

How to Cite

วิรัชนิภาวรรณ ว. . . . (2020). การบริหารจัดการเพื่อให้บริการประชาชนตามแนวคิด การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 6(1), 44–59. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/242683