รูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน; สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 และ 3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 503 คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan ด้วยการสุ่มแบบง่าย และกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัยวิธี (Analytic Deduction)
ผลการวิจัย พบว่า
1.สภาพและปัญหาการดำเนินงานการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 พบว่า สภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
2.การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 พบว่าในภาพรวมมีสภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ปัญหาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.รูปแบบการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ประการ คือ 1) การให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน 2) การส่งเสริมให้เกิดความสำคัญของงานวิจัยในชั้นเรียน 3) การมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน 4) การให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และ 5) การส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งรูปแบบมีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กุศล บัวเกตุ. (2548). สภาพและปัญหาการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
วรรณา เด่นขจรเกียรติ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยา นิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.