รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 19
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, หลักพุทธวิธีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ ๒. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ และ ๓. เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพ กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ จำนวน ๑๖๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าอิทธิพลระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑) ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๘ มีอายุต่ำกว่า ๓๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๕ คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๓ มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๕ และ มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในระหว่าง ๕ – ๑๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๑
๒) การจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ ทั้ง ๕ ด้าน คือ พุทธวิธีด้านหลักสูตร พุทธวิธีด้านการจัดการเรียนการสอน พุทธวิธีด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน พุทธวิธีด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ พุทธวิธีด้านการวัดผลประเมินผล โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
๓) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ พบว่า ตัวแปรปัจจัยพุทธวิธีด้านหลักสูตร ปัจจัยพุทธวิธีด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยพุทธวิธีด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ปัจจัยพุทธวิธีด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และปัจจัยพุทธวิธีด้านการวัดผลประเมินผล ทุกตัวเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙
๔) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธีของครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต ๑๙ เริ่มจากครูผู้สอนมีการนำเอาการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธวิธี ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ ปัจจัยพุทธวิธีด้านหลักสูตร ปัจจัยพุทธวิธีด้านการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยพุทธวิธีด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ปัจจัยพุทธวิธีด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และปัจจัยพุทธวิธีด้านการวัดผลประเมินผล มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะนักเรียน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีกับนักเรียนตามเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมของนักเรียนที่พึงประสงค์ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๖๒ ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ด้านการเป็นคนดี
References
ณฐภัทร อ่ำพันธุ์. (2558). วิธีการสอนหลักพุทธธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ของท่านพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิภา แย้มวจี. (2556). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม: ปัญหาที่ท้าทายของครูไทย. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562. จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php? NewsID =9896 &Key=hotnews.
พระครูพิพิธธรรมาภรณ์ (บุญแทน ศรีทอง). (2556). การประยุกต์ใช้พุทธวิธีทางการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระประศาสตร์ศิลป์ สิริมงฺคโล (กาญบุตร). (2560). พุทธวิธีการสอนในการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมนัส ธมฺมรโต (มีมณี). (2554). ศึกษาวิธีสร้างแรงจูงใจจากพุทธวิธีการสอน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศักดิ์ดา อคฺคปญฺโญ (งานหมั่น). (2560). การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์. (5) ฉบับพิเศษ, 195-207.
วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคต: แนวคิดสู่การปฏิรูปในพระราชบัญญัติการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562. จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0049.PDF.
สำนักนักสถิติแห่งชาติ. (2560). แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) และ แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562. จาก http://ethics.nso.go.th/images/pdf/Stg59-64.pdf.
สำนักนักสถิติแห่งชาติ. (2560). แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) และ แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562. จาก http://ethics.nso.go.th/images/pdf/Stg59-64.pdf.
สุกัญญา. (2561). ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2562. จาก http://sukanyaseenalameen1.blogspot.com/p/blog-age_9749.html.
Birght. Esther. (1986). A Study of Certain Characteristics of Successful Mainstreaming. Ph.D. Dissertation. University of Michigan.
Keyser, R. (2004). Assessing The Relationship Between Knowledge Management and Plant Performance at The Tennessee Valley Authority. Ph.D. Dissertation. The University of Alabama,
Nelson, Miles A. (1970). The Effects of Two Post Laboratory Discussion Strategies on Urban and Suburban Sixth Grade Children 's Learning of Selected Cognitive Skills and Science Principles. Dissertation Abstracts International.
Vincent. L. (2003). Teachers perceptions of school effectiveness and principal vision. Dissertation Abstracts International.