ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเกษตร
คำสำคัญ:
สินเชื่อภาคเกษตรของธนาคารพาณิชย์, สินเชื่อภาคเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคเกษตร, ความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของปริมาณสินเชื่อภาคการเกษตรของธนาคารพาณิชย์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคการเกษตร และทดสอบความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผล โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ.2547 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ.2560 ผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ด้วยวิธีของ Engle and Granger พบว่าปริมาณสินเชื่อภาคการเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ปริมาณสินเชื่อภาคเกษตรของธนาคารพาณิชย์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคการเกษตรมีความสัมพันธ์กันในระยะยาว ผลการทดสอบความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผลด้วย Granger Causality Test พบว่าปริมาณสินเชื่อภาคการเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผลกันใน 2 ทิศทาง แต่ปริมาณสินเชื่อภาคการเกษตรของธนาคารพาณิชย์และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคการเกษตรไม่มีความสัมพันธ์เชิงเป็นเหตุเป็นผลกัน ดังนั้นหากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตร ควรส่งเสริมการให้สินเชื่อภาคเกษตรกับเกษตรกรโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภาคการเกษตรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความสามารถในการชำระหนี้เพื่อขอสินเชื่อเพิ่มขึ้น
References
ชนนิภา มหาพัฒนไทย. (2550). บทบาทของเงินทุนต่างประเทศที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2562). ประวัติการก่อตั้ง. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562. จาก https://www.baac.or.th/th/content-about.php?content_group_sub=0001.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). สถิติสถาบันการเงิน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562. จาก https:// www.bot.or.th/Thai/Statistics/FinancialInstitutions/Pages/default.aspx.
ปรัชญา ศิรินภาพันธ์. (2550). การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการออม การลงทุน เงินทุนไหลเข้าสุทธิจากต่างประเทศ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัตนา สายคณิต. (2544). มหเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์:จากทฤษฎีสู่นโยบาย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลภัสรดา ศรียา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณเงินให้สินเชื่อและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.). การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ข้อมูลสถิติที่สำคัญ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2561. จาก http://statbbi. nso.go.th /staticreport/page/sector/th/index.aspx.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). ตัวชี้วัดเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2562. จาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2561/indicator2560.pdf.
อัครพงศ์ อั้นทอง. (2546). คู่มือการใช้โปรแกรม Eview. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2557. จาก https://piboonrungroj.files.wordpress.com/2011/08/akarapong_handbook_eviews_unit_root_conintegration_error_correction.pdf,
Khan, I. (2014). Agricultural Financing, State Bank and Economic Growth of Pakistan: A Case Study of Allied Bank Limited, Sargodha Region. Australian Journal of Commerce Study SCIE. 26-31.
Liew, V. (2004). Which Lag Length Selection Criteria Should We Employ?. Economics Bulletin. AccessEcon. 3(33), 1-9.
Obansa, S. A. J., & Maduekwe, I. M. (2013). Agriculture financing and economic growth in Nigeria. European Scientific Journal. 9 (1): 168-204.
Yifru, T. (2015). Impact of Agricultural exports on Economic Growth in Ethiopia: The Case of coffee, oil seed and pulses. Thesis Masters of Science Degree in Agricultural and Applied Economics. Egerton University.