การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) โรงเรียนกัลยาณวัตร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง, K6 Model, การใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน 5) เพื่อประเมินทักษะทางดนตรีหลังจากที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในสร้างและพัฒนานวัตกรรมครั้งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 56 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะทางดนตรี และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1 / E2 ค่า E.I. และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า t-test แบบ Dependent Samples Test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ได้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและเงื่อนไข การนำรูปแบบไปใช้ กระบวนเรียนการสอน ประกอบด้วย 1)รู้เครื่องดนตรี 2)รู้โน้ตเพลง 2)รู้หลักการปฏิบัติ 3.1)สังเกตรับรู้ 3.2)ทำตามแบบ 3.3) ทำโดยไม่มีแบบ 3.4) ฝึกปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ 3.5)วัดทักษะทางดนตรี 4)รู้รักษาเครื่องดนตรี 5)รู้พัฒนาฝีมือ และ6)รู้คุณครูที่สั่งสอน โดยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.45/88.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ .50
3) หลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ผู้เรียนที่มีความพึงพอใจของต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมือง
ผสมผสานดนตรีสากล อยู่ในระดับ มากที่สุด
5) การประเมินทักษะทางดนตรี พบว่า หลังการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาดนตรีพื้นเมือง โดยใช้ K6 Model และการใช้ดนตรีพื้นเมืองผสมผสานดนตรีสากล ประเมินทักษะทางดนตรีโดยใช้แบบประเมินชุดเดิม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กฤษฎา วงศ์งาม. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติ ตามรูปแบบการสอนของครูภูมิปัญญาไทยกับการสอนแบบปกติ เรื่อง ดนตรีพื้นบ้านอีสาน(พิณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กัลยาณวัตร. (2563). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนกัลยาณวัตร ปีการศึกษา 2562. ขอนแก่น : โรงเรียนกัลยาณวัตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2543). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดขั้นสูงและจิตตนิสัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2537). หลักการของโคดายสู่การปฏิบัติ : วิธีการด้านดนตรีศึกษาโดยการสอนแบบโคดาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2540). กิจกรรมดนตรีสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ สายแวว. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรีสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8(1), 85-96.
วัจนกร สารแขวีระกุล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะปฏิบัติดนตรีโปงลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุกัญญา ทองทิพย์. (2558 ). แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาดุริยางคศิลป์. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุทัย ศาสตรา. (2553). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw -Hill.
Fitts, P. M. (1964). Perceptual-Motor Skill Learning. In A. W. Melton (Ed.), Categories of Human Learning: London : Academic Press.
Simpson, D. (1972). Teaching physical education : A system approach. Boston: Houghton Mifflin.